โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

มงคล 38 ประการ





มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่




วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

ปุ๋ย


ปุ๋ย



ปุ๋ยคืออะไร

ปุ๋ย คือ วัตถุหรือสิ่งที่ใส่ลงไปในดิน น้ำ หรือฉีดพ่นให้กับพืชโดยตรงเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช

ธาตุอาหาร คืออะไร
อาหาร เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต คนและสัตว์ กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร ส่วนพืชกินธาตุต่าง ๆ เป็นอาหาร ธาตุที่พืชกินเป็นอาหารเราเรียกว่า ธาตุอาหารพืช

ธาตุอาหารพืชมีอะไรบ้าง
ธาตุ ซึ่งเป็นอาหารของพืชมี 16 ธาตุ พืชได้รับจากน้ำ และอากาศโดยตรง 3 ธาตุ คือ
- ออกซิเจน (O)
- ไฮโดรเจน (H)
- คาร์บอน (C)

พืชได้รับจากดิน 13 ธาตุ คือ
- ธาตุอาหารหลักมี 3 ธาตุ (N) (P) (K)
- ธาตุอาหารรองมี 3 ธาตุ (Ca) (Mg) (S)
- ธาตุอาหารเสริมมี 7 ธาตุ (Fe) (Mu) (Ca) (Zn) (Mo) (B) (Ci)

ปุ๋ยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ปุ๋ยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. ปุ๋ยอินทรีย์
2. ปุ๋ยเคมี
3. ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ละลายช้า ตรา ดีดี
(หมายเหตุ อดีตมี 2 ประเภท)

ปุ๋ยอินทรีย์ คืออะไร
ปุ๋ยอินทรีย์ คือ ปุ๋ยที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่
- ปุ๋ยคอก
- ปุ๋ยหมัก
- ปุ๋ยพืชสด
- ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยเคมี คืออะไร
ปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยที่ได้จากการสิ่งไม่มีชีวิต ได้แก่
- ปุ๋ยหินฟอสเฟส 0-3-0
- ปุ๋ยสูตร 16-20-0
- ปุ๋ยสูตร 15-7-18
- ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ฯลฯ

ปุ๋ยเคมีมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
ปุ๋ยเคมี ถ้าแบ่งตามปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในปุ๋ยนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.ปุ๋ยเดี่ยว
2. ปุ๋ยผสม

ปุ๋ยเดี่ยว คืออะไร
ปุ๋ยเดี่ยว คือปุ๋ยเคมีที่มีธาตุอาหารอยู่เพียงธาตุเดียว เช่น
- ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน (N) อย่างเดียว ได้แก่ ปุ๋ย แอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ฯลฯ
- ปุ๋ยที่ธาตุฟอสฟอรัส (P) อย่างเดียว ได้แก่ ปุ๋ยโปแตส เซียมคลอไรด์ (0-0-60) ปุ๋ยโปแตสเซียมซัลเฟต (0-0-50) ฯลฯ

ปุ๋ยผสม คืออะไร
ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป
- ปุ๋ยสูตร 16-20-0 เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน (N) และ ฟอสฟอรัส (P) เพียง 2 ธาตุ
- ปุ๋ยสูตร 16-8-14 เป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจน (N) และ ฟอสฟอรัส (P) โปแตสเซียม (K) ครบทั้ง 3 ธาตุ

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร


วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า "The Marble Temple" เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๐,๕๖๖ ตารางวา ๑๔ ตารางศอก ตั้งอยู่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนสายใหญ่คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก และถนนพิษณุโลก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และวางแบบแปลนแผนผังแยกสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และที่ธรณีสงฆ์สำหรับผู้อุปัฏฐากภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีสนามหญ้าและปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น กุฏิที่อยู่ของภิกษุสามเณร เป็นระเบียบ ปลอดโปร่ง ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง

ประวัติเดิม

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า "วัดแหลม" หรือ "วัดไทรทอง" ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด จนถึงปี พ.ศ.๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงปรากฏชื่อขึ้นในประวัติศาสตร์ เมื่อเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ ประเทศราชของไทย ได้ก่อการกบฎยกทัพมาตีไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (พระองค์เจ้าพนมวัน พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย กับเจ้าจอมศิลา ต้นราชสกุล พนมวัน) เป็นผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณ "วัดแหลม" หรือ "วัดไทรทอง" นี้

เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น ประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๐-๒๓๗๑ แล้วทรงสร้างพระเจดีย์ ๕ องค์ รายด้านหน้าวัดเป็นอนุสรณ์

ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดเบญจบพิตร" ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย ๕ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น

เริ่มสถาปนา

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระราชอุทยาน เป็นที่ประทับแรมสำราญพระราชอิริยาบถในวันสุดสัปดาห์ จึงโปรดเกล้าฯให้จัดซื้อที่บริเวณด้านทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ระหว่างคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นที่สวนและทุ่งนา ตามราคาจากราษฎร ด้วยพระราชทรัพย์สำหรับใช้จ่ายการในพระองค์ พระราชทานนามว่า "สวนดุสิต"

โปรดเกล้าฯให้เริ่มลงมือตัดไม้ ปรับพื้นที่เพื่อสร้างสวนดุสิต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๑ และได้ทำการสืบมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ จึงได้เสด็จเถลิงพลับพลาเป็นครั้งแรก

การสร้างสวนดุสิต ได้ใช้พื้นที่ของวัดดุสิต หรือวัดดุสิดาราม ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม มีภิกษุอยู่เพียง ๑ รูป เป็นที่สร้างพลับพลา และที่วัดร้างอีกวัดหนึ่งตัดเป็นถนนภายในสวนดุสิตด้วย ประกอบกับมี "วัดเบญจบพิตร" ที่ชำรุดทรุดโทรมอยู่ใกล้เขตพระราชฐานด้านทิศใต้ด้วย จึงมีพระราชดำริที่จะทรงทำ "ผาติกรรม" สถาปนาวัดขึ้นใหม่ โดยมีพระราชประสงค์สำคัญคือ

๑. เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เมื่อทรงใช้ที่วัดสร้างพระราชอุทยาน ก็ทรงทำ "ผาติกรรม" สร้างวัดขึ้นทดแทนตามประเพณี โดยสร้างเพียงวัดเดียว แต่ทำให้เป็นพิเศษ วิจิตรงดงาม สมควรที่จะเป็นวัดอยู่ใกล้เขตพระราชฐาน
๒. เป็นที่แสดงแบบอย่างทางการช่างของสยามประเทศ โดยโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถพร้อมพระระเบียงอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ
๓. เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณสมัยและปางต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นทั้งในและต่างประเทศ แสดงให้ประชาชนเห็นเป็นแบบอย่าง ภายในพระระเบียง ซุ้มมุขหลังพระอุโบสถ และซุ้มมุขด้านนอกพระระเบียง
๔. เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมและวิชาชั้นสูงซึ่งทรงเรียกว่า "คอเลซ" (College) เป็นการเกื้อกูลแก่คณะสงฆ์มหานิกาย
๕. เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งพระองค์ โดยเมื่อสถาปนาขึ้นแล้วพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดเบญจมบพิตร" ซึ่งหมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ กับได้ทรงแสดงพระราชประสงค์ไว้ว่า เมื่อพระองค์สวรรคตและถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ให้นำพระสรีรางคารไปบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราช ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้โปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีบรรจุพระสรีรางคารตามพระราชประสงค์

เมื่อเริ่มการสถาปนา โปรดเกล้าฯให้รื้อถอนสิ่งก่อสร้างในวัดเดิมทั้งหมด ปรับพื้นที่ก่อสร้าง สังฆเสนาสน์สำหรับพระสงฆ์สามเณรอยู่อาศัยได้ ๓๓ รูป เท่ากับปีที่ทรงครองราชสมบัติ โดยทรงมอบหมายให้ เจ้าพระยาวรพงษ์พิพัฒน์ (ม.ร.ว.เย็น อิศรเสนา เมื่อครั้งเป็น เจ้าหมื่นเสมอใจราช) เป็นผู้รับผิดชอบ กับโปรดเกล้าฯให้สร้างพระอุโบสถชั่วคราว เป็นอาคารไม้หลังคามุงจาก เพื่อทำสังฆกรรมไปพลางก่อน

วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ซึ่งเป็นวันเสด็จเถลิงพลับพลาประทับแรมที่สวนดุสิตครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดเบญจมบพิตร ทรงประเคนประกาศพระบรมราชูทิศถวายที่วิสุงคามสีมา แก่สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ สมเด็จพระวันรัต อ่านประกาศพระบรมราชูทิศในที่ประชุมสงฆ์ ซึ่งปรากฏข้อความในประกาศพระบรมราชูทิศตอนหนึ่งว่า

"....ทรงพระราชทานนามวัด วัดเบญจมบพิตร แสดงลำดับรัชกาลในมหาจักรีบรมราชวงศ์…."

จึงถือได้ว่า วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๔๒ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้น แล้วได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นลำดับมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เมื่อการก่อสร้างสังฆเสนาสน์แล้วเสร็จตามพระราชประสงค์ในขั้นแรก จึงโปรดให้แห่พระสงฆ์สามเณร ๓๓ รูป ซึ่งโปรดให้คัดเลือกได้แล้ว และให้รวมฝึกอบรมอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ ไปอยู่วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๔๓ และในคราวนี้เองได้พระราชทานที่วัดเพิ่มเติม และสร้อยนามต่อท้ายชื่อวัดว่า "ดุสิตวนาราม" เรียกรวมกันว่า "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม"

ในส่วนพระอุโบสถถาวร และพระระเบียง โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (พระองค์เจ้าจิตรเจริญ ต้นราชสกุล จิตรพงศ์) เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เป็นสถาปนิกเขียนแบบแปลนแผนผัง และเริ่มการก่อสร้างต่อไปพร้อมๆ กับการก่อสร้างเสนาสนะอื่นๆ

พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล บุตรพระยาราชสงคราม ทัด) ช่างก่อสร้างฝีมือดีที่สุดในขณะนั้น ได้ดำเนินการก่อสร้างมาตามลำดับ จนถึงวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต การก่อสร้างสังฆเสนาสน์อื่น ๆ ยังไม่แล้วเสร็จครบถ้วนตามแผนผัง ที่ทรงวางไว้ การประดับตกแต่งพระอุโบสถบางส่วนและสังฆเสนาสน์บางแห่ง ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามพระราชประสงค์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงทรงดำเนินการต่อมา โดยโปรดเกล้าฯให้ยกช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ขึ้น และเมื่อหินอ่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สั่งซื้อจากประเทศอิตาลีเข้ามาถึงแล้ว ก็โปรดเกล้าฯให้ประดับในส่วนที่ยังค้างอยู่จนเรียบร้อย กับให้ช่างกรมศิลปากรเขียนผนังภายในพระอุโบสถด้วยสีน้ำมัน เป็นลายไทยเทพนมพุ่มข้าวบิณฑ์สีเหลืองบนพื้นขาว ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรและพระระเบียงที่ประดับตกแต่งแล้ว จึงวิจิตรงดงามสมบูรณ์แบบด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณอย่างน่่าอัศจรรย์ยิ่ง ส่วนพระอุโบสถไม้ชั่วคราวหลังเดิม โปรดเกล้าฯให้รื้อไปสร้างเป็นพระอุโบสถวัดวิเวกวายุพัด บางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระอุโบสถ ลักษณะทั่วไปของพระอุโบสถ เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง

ด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย "สีมา" สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้น ภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา

มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน

ผนังรอบพระอุโบสถด้านนอกประดับด้วยแผ่นหินอ่อน ๔ เหลี่ยมสีขาวบริสุทธิ์ หนา ๓ เซนติเมตรมุขตะวันตกด้านนอก มีเสาและสิงห์เช่นเดียวกับด้านหน้า และที่ซุ้มจรนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระยืนทรงเครื่องสมัยลพบุรี ปางห้ามญาติ ถวายพระนามว่า "พระธรรมจักร" เพราะที่ฝ่าพระหัตถ์สลักเป็นรูปพระธรรมจักร กับโปรดเกล้าฯให้บรรจุพระอังคารสมเด็จพระเจ้ามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร (พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม ซึ่งทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระเยาว์มา ประหนึ่งสมเด็จพระราชชนนี) ใต้ฐานพระด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลำยอง ลงรักปิดทองทึบ อ่อนช้อยรับกันทุกชิ้นมีคันทวยรับเชิงชายเป็นระยะ ๆ หลังคาพระอุโบสถมุงกระเบื้องเคลือบสีเหลือง เรียกว่ากระเบื้องกาบู ซึ่งมีลักษณะเป็นกาบโค้งครอบแผ่นรอง เชิงชายเป็นแผ่นเทพนม ซึ่งโปรดเกล้าฯให้นำกระเบื้องวัดกัลยาณมิตร ส่งไปเป็นตัวอย่างทำสีจากเมืองจีน

หน้าบันพระอุโบสถโปรดเกล้าฯให้ผูกลายประกอบพระราชลัญจกรต่าง ๆ คือ

๑. หน้าบันมุขตะวันออก จำหลักไม้ ผูกลายประกอบตราเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งถอดจากพระราชลัญจกร "พระครุฑพาห์" ในลายมีหมู่เทวดาอัญเชิญเครื่องสูงประกอบซ้ายขวาด้วย
๒. มุขตะวันตก จำหลักไม้ ผูกลายประกอบตราเป็นอุณาโลมในบุษบก ซึ่งถอดจากพระราชลัญจกร "มหาอุณาโลม" หรือ "มหาโองการ"
๓. มุขเหนือ ปั้นปูน ผูกลายประกอบตราเป็นช้างสามเศียร บนหลังมีบุษบก ซึ่งถอดจากพระราชลัญจกร "ไอยราพต"
๔. มุขใต้ ปั้นปูน ผูกลายประกอบตราเป็นรูปจักรรถ ซึ่งถอดมาจากพระราชลัญจกร "จักรรถ" แต่เพราะพระราชลัญจกรจักรรถเหมือนกับ "พระธรรมจักร" จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "พระธรรมจักร"

ในการผูกลายประกอบพระราชลัญจกร นอกจากสมเด็จฯเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์แล้ว ส่วนหนึ่งพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นวรวัฒน์ศุภากร (พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณวงศ์ ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ช่วยเขียนแบบ ในกำกับของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ด้วย

บานประตูด้านนอกติดแผ่นโลหะนูน ภาพเทวดารักษาประตู (ทวารบาล) ด้านในเขียนลายรดน้ำภาพเหมือนกับด้านนอก บานหน้าต่างด้านนอกติดแผ่นโลหะนูนภาพมาร (ยักษ์) แบก ด้านในเขียนลายรดน้ำภาพเหมือนด้านนอก

ภายในพระอุโบสถ มุขตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธชินราช ด้านหน้าพระพุทธชินราชเป็นรั้วหินอ่อนกลมสีเขียวหยก พระแท่นรัตนบัลลังก์พระพุทธชินราช ผนังเสมอกรอบหน้าต่าง และพื้นพระอุโบสถ ประดับหินอ่อนหลากสีณ พระแท่นรัตนบัลลังก์นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้บรรจุพระสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ผู้ทรงสถาปนาวัด

ผนังเหนือกรอบหน้าต่างขึ้นไปซึ่งเป็นส่วนถือปูน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ช่างกรมศิลปาากรเขียนลายไทยเทพนมทรงพุ่มข้าวบิณฑ์สีเหลืองบนพื้นขาวอมเหลืองอ่อน ตลอดถึงเพดาน เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๗

เหนือหน้าต่าง ๑๐ ช่อง เป็นช่องกระจกรับแสง เขียนสีลายไทยเทพนม โดยช่างกรมศิลปากร ออกแบบสั่งทำจากเมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงรับเป็นเจ้าภาพด้านบน ขื่อในและขื่อนอก ๓ ชั้น ลงรักปิดทองลายรดน้ำ เพดานในล่องชาด ประดับดาวกระจาย ๒๓๒ ดวง ดาวใหญ่ ๑๑ ดวง มีโคมไฟระย้าแก้วขาวอย่างดี ตราเลข ๕ ซึ่งเป็นตราวัดเบญจมบพิตร ๖ โคม พร้อมสายบรอนซ์ ซึ่งสั่งทำจากประเทศเยอรมนีช่องคูหาทั้ง ๘ เขียนภาพสถูปเจดีย์ที่สำคัญทุกภาค จัดเป็น "จอมเจดีย์" ในประเทศไทย โดยว่าจ้างให้กรมศิลปากรออกแบบและเขียน แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ คือ พระมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี, พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม, พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช, พระเจดีย์ชัยมงคล จังหวัดนครศรีอยุธยา, พระมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย, พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม, พระมหาธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน และ พระศรีรัตนธาตุ จังหวัดสุโขทัยเฉพาะช่อง "พระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับเป็นเจ้าภาพ ช่อง "พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงรับเป็นเจ้าภาพ นอกจากนี้มีพระบรมวงศานุวงศ์ และผู้มีจิตศรัทธารับเป็นเจ้าภาพ

สำหรับหินอ่อนที่ประดับตกแต่งพระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนสถานที่อื่น ๆ สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงวัดขนาดทำแบบส่งไปเป็นตัวอย่าง เรียกประกวดราคาโดยตรงจากบริษัทขายหินอ่อน ประเทศอิตาลีในการออกแบบประดับหินอ่อน มีวิศวกรและสถาปนิกชาวอิตาเลียน จากกรมโยธาธิการ ร่วมดำเนินการด้วยคือ วิศวกร อัลเลกริ (Carlo Allegri) ประสานงานสั่งซื้อหินอ่อน, สถาปนิก ตะมาโย (Mario Tamagno) เป็นผู้ช่วยเขียนแบบบางส่วน หินอ่อนทั้งหมดได้มีการสั่งซื้อและเรียกประกวดราคาไปหลายแห่ง ส่วนหนึ่งเป็นหินอ่อนจากห้างโนวี ยัวเสปเป้ (Novi Guiseppe) เมืองเยนัว กับหินอ่อนจากเมืองคาร์รารา (Carrara) ประเทศอิตาลี ที่ถือว่าเป็นเมืองที่มีหินอ่อนมากและดีที่สุด มีเอกสารหลักฐานการสั่งซื้อมากมายเป็นหลักฐาน มิใช่เป็นหินอ่อนที่เหลือจากสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมตามที่นักเขียนหลาย ๆ คนเข้าใจและเขียนเผยแพร่อยู่ในหนังสือต่าง ๆ แต่อย่างใด ในช่วงแรกมีมิสเตอร์ มูโซ่ (Mr. L. Mosso) ซึ่งเป็นช่างจากบริษัทขายหินอ่อน เป็นนายช่างประดับหินอ่อน มีช่างคนไทยเป็นลูกมือ

สิ่งสำคัญภายในวัด พระพุทธชินราช พระที่นั่งทรงผนวช วิหารสมเด็จ สผ. พระที่นั่งทรงธรรม หอระฆังบวรวงศ์ ศาลาสี่สมเด็จ ศาลาหน้าพระอุโบสถ คลองน้ำ ศาลาตรีมุข สะพาน สังฆเสนาสน์ โรงเรียนเบญจมบพิตร ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ศาลาอุรุพงษ์ กำแพงวัด หอสมุด ป.กิตติวัน พิพิธภัณฑ์พระอนุสรณ์ อปก. ศาลาร้อยปี ศาลาธรรมชินราช ฯลฯ

เจ้าอาวาส

พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.)
เจ้าคณะใหญ่หนใต้ พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน ป.ธ.๙)
กรรมการมหาเถรสมาคม
รองแม่กองบาลีสนามหลวง
เจ้าคณะภาค ๖

ข้อมูล วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

เลขที่ ๖๙ ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐
โทร. ๐๒-๒๘๒-๒๖๖๗, ๐๒-๒๘๑-๗๘๒๕, ๐๒-๒๘๒-๕๕๙๑, ๐๒-๙๐๔-๖๑๗๗

ความสำคัญ : พระอารามหลวง ชั้นเอก, พระอุโบสถหินอ่อนสวยงามมาก
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
เจ้าอาวาส : พระพรหมจริยาจารย์ (สมุท รชตวณฺโณ ป.ธ.๗)

เคล็ดลับรักษาอาการหน้าแตก





เดินตกท่อ ,ทำงานพลาด, ซิปแตกกลางตลาด ,จีบสาวไม่ติด , ทักผิดคน ฯลฯ
ที่ทำให้ใบหน้าอันแสนจะสง่างามของท่านต้อง มีอาการแตกเป็นเสี่ยงๆ จนยากที่จะประสานกันติด ถ้าท่านต้องพบกับเหตุการณ์เช่นนี้ ท่านจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้อาการขวยเขินเหล่านี้บรรเทาเบาบางไปโดยเร็วที่สุด ถ้ายังคิดไม่ออกสำนักข่าวชาวพุทธ ขอเสนอเทคนิคคิด ๓ วิธีที่ สามารถช่วยรักษาอาการหน้าแตกของคุณให้ค่อย ๆ ทุเลาลงไป จนหายสนิท ดังต่อไปนี้

๑.ให้คิดว่าตัวเองโชคดีที่ไม่หน้าแตกมากไปกว่านี้

การคิดว่าตัวเองโชคดีเสมอ เป็นวิธีคิดมองโลกในแง่ดีที่สามารถนำไปใช้ได้หลาย ๆ กรณี ในกรณีหน้าแตกนี้ก็เช่นเดียวกัน ให้เราคิดว่า นี่ตัวเองยังโชคดีที่นะไม่เจอเหตุการณ์ที่ทำให้หน้าแตกมากไปกว่านี้ วิธีคิดในรูปแบบนี้ เป็นวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาการหน้าแตกได้ผลดีวิธีหนึ่ง

ยกตัวอย่าง

ลืมรูดซิบ เราก็อาจจะคิดว่า "ฮ้า..โชคดียังดีนะ ที่วันนี้เรานุ่งกางเกงในตัวใหม่มา ไม่อย่างนั้นคงต้องอายยิ่งกว่านี้เป็นแน่"
ผายลมเสียงดัง จนคนหันมามอง เราก็อาจจะคิดว่า " โห..นี่ยังดีนะที่มีแค่เสียง นี่ถ้ามีกลิ่นออกมาด้วย เราคงอายมุดดินแน่ "
กระโดดขึ้นรถเมล์พลาด ตะครุบกบกลางถนน เราอาจจะคิดว่า "อูยย.(เจ็บ) .. ยังดีนะที่แค่หน้าแตก โชคดีที่รถข้างหลังมันไม่เหยียบเอา นี่ก็ถือว่าบุญแล้ว"

๒.มองโลกนี้ด้วยอารมณ์ขัน

ขำตัวเอง ยิ้มน้อย ๆ ด้วยความเอ็นดูตัวเอง นึกให้มันขำ ๆ ว่าการที่เราได้ปล่อยไก่ หรือปล่อยห้าแต้มให้คนเขาดูออกไป ในครั้งนี้ ถือว่ามันก็เป็นการสังเคราะห์เพื่อนมนุษย์ได้เหมือนกัน คือได้ช่วยให้เขามีสุขภาพจิตดี ได้หัวเราะสนุกสนานกันไป เราคงจะได้บุญไม่น้อย อ้อ.! บางทีเราอาจจะนำเรื่อง "หน้าแตก" เหล่านี้นำไปเล่าให้เพื่อน ๆ ฟังให้คลายเครียดในภายหลัง ได้อีกต่างหาก คิดแล้วสบายใจ เพราะได้ช่วยให้ผู้อื่นอารมณ์ดีครับ

๓.ให้ถือว่า "อาการหน้าแตก" นี้คือสิ่งที่มาเตือนสติให้เรารู้ตัวเองว่าเรายังเป็นคนที่ทำอะไรเพราะเห็นแก่หน้า

คนในสังคมไทยส่วนใหญ่นั้นอาจจะยังเป็นคนที่ชอบทำอะไรต่ออะไรเพื่อเห็นแก่หน้าตา ทีนี้เวลาเราเกิดไปทำอะไรผิดพลาดหรือล้มเหลวขึ้นมา มันก็เลยเกิดอาการ "หน้าแตก" โดยอัตโนมัติ อันที่จริงคนที่ทำงานเพื่องานจริง ๆ เขาจะถือว่าความล้มเหลวนั้นไม่ใช่เรื่องของการเสียหน้าแต่อย่างใด ยกตัวอย่าง นักวิทยาศาสตร์บางคนกว่าจะทดลองค้นคว้าอะไรประสบความสำเร็จออกมาได้ บางทีเขาต้องพบกับความล้มเหลวนับพัน ๆ ครั้ง (เช่นโทมัส เอดิสัน ผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า) ลองนึกจินตนาการดูว่า หากนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้เป็นคนที่ทำงานเพื่อมุ่งเอาหน้าเอาตา พวกเขาคงจะต้องมีอาการหน้าแตกแล้วแตกเล่า จนเป็นโรคประสาทไปก่อนที่จะประสบความสำเร็จเป็นแน่

คนที่มีความคิดมุ่งทำงานเพื่อบรรลุให้ถึงผลสำเร็จของการงานที่ตั้งเป้าไว้ (จิตใฝ่สัมฤทธิ์)

โดยไม่สนใจเรื่องของเกียรติยศชื่อเสียง ใจของเขาจะมุ่งไปสู่เป้าหมายเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีเรื่องของความอยากได้หน้าได้ตาอะไรมารบกวนจิตใจตอนทำงาน ดังนั้นหากเมื่อใดการงานที่เขาทำอยู่เกิดต้องพบกับปัญหาผิดพลาดพลั้งหรือล้มเหลวอะไรขึ้นมา คนเหล่านี้จึงไม่มีอาการหน้าแตกแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะจิตใจของเขาได้สร้างพื้นฐานความคิดที่ถูกต้องบริสุทธิ์ใจมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นเขาจึงไม่เสียกำลังใจ ไม่หน้าแตก ในยามที่พบกับความล้มเหลว สมรรถภาพทางปัญญาของเขาจึงพร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงการงานอยู่ตลอดเวลา เช่น ทำอย่างไรจึงจะนำข้อผิดพลาดทั้งหลายมาเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น

สรุปอีกครั้งว่าถ้าเกิดอาการหน้าแตกเมื่อไหร่ให้บอกกับตนเองได้เลยว่า

พื้นฐานความคิดของเราคงต้องมีอะไรผิดพลาดแน่ๆ สมควรที่จะต้องรีบปรับวิธีการคิดมองโลกให้ถูกต้องคือไม่ว่าจะทำอะไร ไม่ใช่ทำเพราะเห็นแก่หน้าตา หรือ อวดโก้เก๋ แต่ให้ทำเพราะเห็นแก่ความถูกต้องดีงาม หรือ ด้วยความใฝ่รู้ใฝ่สัมฤทธิ์ นี่ถ้าสร้างแรงจูงใจในการดำเนินชีวิตได้ อย่างถูกต้องเช่นนี้แล้ว อาการหน้าแตกเวลาเราทำอะไรผิดพลาดหรือล้มเหลว (ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา ) มันก็จะค่อย ๆ ลด น้อยจนหมดลงไปเอง

รู้ไว้.....ความรู้รอบตัว 100 ข้อ


รู้ไว้.....ความรู้รอบตัว 100 ข้อ



1.หน่วยนับกระดาษเรียกว่าอะไร::: (รีม)

2.กระดาษ 1 รีม มีทั้งหมดกี่แผ่น::: (480แผ่น)

3.ไวรัส บี. เป็นต้นเหตุให้เกิดโรคอะไร::: (ตับอักเสบ)

4.ม้าลายมีลายสีอะไร::: (ลายสีขาว)

5.เมื่อม้าโกรธ จะแสดงอาการอย่างไร::: (หูจะลู่ไปข้างหลัง)

6.คนโบราณของไทยเรียกพี่สาวคนโตว่าอะไร::: (เอื้อย พี่สาวคนรองว่าอี่)

7. "โพคาฮอนตัส" คือใคร::: (เจ้าหญิงอินเดียนแดงซึ่งพบรักกับกัปตันจอห์นสมิธ จนเป็นตำนาน)

8.ดินแดนแห่งใดได้ชื่อเป็นดินแดนแห่งการปฏิวัติ::: (อเมริกาใต้)

9.โรคเมราโดมา คือโรคอะไร::: (อาบแดดเกินขนาด)

10.นายกรัฐมนตรีอังกฤษที่ให้เอกราชแก่อินเดียปี 2490 คือใคร::: (คลีเมนต์ แอตลี)

11.สงครามมหาเอเชียบูรพาคือสงครามอะไร::: (ญี่ปุ่นประกาศสงครามกับพันธมิตร

ส่งทหารยึดประเทศต่าง ๆในเอเชียช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2)

12.ยาสลบทำจากอะไร::: (คลอโรฟอร์ม)

13.อาหารกระป๋องที่สมบูรณ์ เก็บไว้ได้นานเท่าไร::: (1 ปี)

14.อเมริกันฟุตบอลมีผู้เล่นทีมละกี่คน::: (11 คน ใครทำแต้มมากกว่าเป็นผู้ชนะ)

15.ในทางเคมี สารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเลือดมนุษย์ที่สุดคืออะไร::: (น้ำทะเล)

16.อันตน ฟัน เลเวนฮุก ชาวฮอลันดาพบอะไร::: (จุลชีวัน)

17.กลิ่นเมนทอลในยาสีฟันทำจากอะไร::: (ใบสะระแหน่)

18.เห็ดราซึ่งเกิดจากการหมัก ดอง หรือบูด ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเรียกว่าอะไร::: (ยีสต์)

19.ผู้ปกครองสิงคโปร์ในอดีตคือใคร::: (อังกฤษ)

20. "พระราชินีแห่งพรหมจรรย์" เป็นสมญานามของใคร::: (พระนางอลิซาเบธที่ 1)

21.เกาะใดเคยเป็นส่วนหนึ่งของทวีปออสเตรเลีย::: (เกาะแทสมาเนีย)


22."เมืองปริผาวา" ของอินเดียในอดีต คือเมืองใดในปัจจุบัน::: (เมืองกบิลพัสดุ์ สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า)

23.ผลิตภัณฑ์สบู่ใช้น้ำมันอะไรในการผลิต::: (น้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว)

24.ผงครามที่ใช้ย้อมผ้าทำจากอะไร::: (ต้นคราม)

25.แหล่งกำเนิดสุนัขไทยหลังอานอยู่ที่ไหน::: (ตราด)

26.คติชาวบ้านเชื่อว่าปลาตัวใดจะช่วยคนเมื่อเรือแตก::: (ปลาโลมา)

27.ป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือป่าอะไร::: (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน)

28."มอลลา โฮลิก" เป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่เป็นโรคอะไร::: (ชอบเดินช้อปปิ้งในศูนย์การค้า)

29.คนไทยรู้จักปลาทูน่าอีกชื่อหนึ่งว่าอะไร::: (ปลาโอ)

30.ไทยเรียกลมชนิดหนึ่งว่า "ลมงวงช้าง" คือลมอะไรในอเมริกา::: (ทอร์นาโด)

31."โพไซดอน" เป็นเทพยเจ้าแห่งทะเลของใคร::: (ชาวกรีก)

32.เจ.เอ็ม.แบร์รี่ เขียนหนังสือเรื่องอะไร::: (ปีเตอร์แพน)

33."ดินแดนแห่งกระต่าย" เป็นชื่อเรียกประเทศใด::: (สเปน)

34.ใครแต่งเพลง "ออลด์ แลง ไซน์"::: (โรเบิร์ต เบิร์นส)

35."เซมเปิล วัคซีน" คือวัคซีนป้องกันโรคอะไร::: (พิษสุนัขบ้า)

36.ประเทศยูกันดาอยู่ในทวีปอะไร::: (ทวีปแอฟริกา)

37. เห็ดชนิดเดียวที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติคือเห็ดอะไร::: (เห็ดโคน)

38.นกตัวใดเป็นสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกา::: (นกอินทรีหัวขาว)

39.ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีธาตุอะไรเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ::: (คลอรีน)

40. เมืองใดของศรีลังกาได้ชื่อ "เมืองแห่งเพชรพลอย"::: (รัตนปุระ)

41.เทศกาลหิมะ "สโนว์ เฟสติวัล" จัดทุกปีในเมืองใด::: (ซับโปโร เกาะฮอกไกโด ญี่ปุ่น)

42. ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้รับการยกย่องอย่างไร::: (บิดาแห่งจิตวิทยาสมัยใหม่)

43.วิกตอเรีย เป็นเมืองหลวงของเขตปกครองพิเศษแห่งใดของจีน::: (ฮ่องกง)

44.ปราชญ์จีน "จ้งหนี แซ่ขง" คือใคร::: (ขงจื้อ)

45.ชาวสิงหลและทมิฬ เป็นคนของประเทศใด::: (ศรีลังกา)

46.สเปนหมดอำนาจทางทะเลเพราะแพ้สงครามใคร::: (เรือสเปน 130 ลำพ่ายแพ้อังกฤษ)

47.นักบุญองค์ใดเผยแพร่พระคริสต์ธรรมคาทอลิกในเอเชีย::: (ซาเวียร์)

48.อุตสาหกรรมผลิตเบียร์ใช้ข้าวอะไร::: (ข้าวบาร์เลย์, ข้าวมอลท์)

49.เมืองใดในเอเชียตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่โคลัมบัส::: (โคลอมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา)

50.กระดาษสาทำจากต้นอะไร::: (ต้นสา หรือปอสา)

51.ใครปลดปล่อยยิวจากการเป็นทาสของอียิปต์โบราณ:::(โมเสส)

52.นครหลวงของทิเบตชื่ออะไร::: (ลาซา)

53.เพลง "อินเตอร์เนชั่นแนล" ร้องกันในหมู่เหล่าใด::: (ชาวมาร์กซิสม์)

54.ตัวยา AZT และ DDI ใช้รักษาโรคอะไร::: (เอดส์)

55.ในอังกฤษมีพรรคการเมืองกี่พรรค::: (2 พรรค อนุรักษ์นิยมและพรรคแรงงาน)

56.หนังสือ ไมน์ แคมฟ์ "การต่อสู้ของข้าพเจ้า" เป็นของใคร::: (ฮิตเลอร์)

57.เมืองใดในยูโกสลาเวียเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1::: (ซาราเจโว)

58.ใครเขียนเรื่อง "ไอแวนโฮ" และ "ร็อบ รอย"::: (เซอร์ วอลเตอร์ สกอต)

59.สถาบันเฝ้าระวังภัยโลกตั้งอยู่ที่ไหน::: (กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.)

60.มดที่ทำงานง่วนอยู่ทั้งวัน เป็นมดตัวผู้หรือตัวเมีย::: (ตัวเมีย)

61.สะพานโกลด์เด้นเกท เป็นสะพานแขวนที่มีชื่อเสียงของที่ใด::: (ซานฟรานซิสโก สหรัฐฯ)

62.ทองคำแท้มีกี่กะรัต::: (24 กะรัต)

63.การประชุมเอเปค (APEC) เป็นความริเริ่มของชาติไหน::: (ออสเตรเลีย)

64. รางวัลพูลิตเซอร์ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ใคร::: (โจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน)

65.เลขของโรมัน M เท่ากับจำนวนเลขอะไร::: (1,000)

66. อินเดียและปากีสถานแย่งกรรมสิทธิ์ในดินแดนแห่งใด::: (แคชเมียร์)

67.ทั่วโลกมีโลหปราสาทอยู่กี่แห่ง:::(3 แห่ง อินเดีย ศรีลังกา และไทย)

68.นักแต่งเทพนิยายอันลือชื่อของเดนมาร์กคือใคร::: (ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน)

69.จักรวรรดิอังกฤษรุ่งเรืองเป็นมหาอำนาจทางเรือในสมัยของใคร::: (พระนางเจ้าวิกตอเรีย)

70.ต้นแม่น้ำแยงซีเกียงอยู่ที่ไหน::: (ที่ราบสูงทิเบต)


71.โรคโลหิตจางเกิดจากการขาดสารอาหารอะไร::: (เหล็ก)

72.ไวน์ของรัฐใดในสหรัฐฯถือว่าดีที่สุด::: (แคลิฟอร์เนีย)

73."บูลิเมีย" คือชื่อเรียกอะไร::: (คนกินอย่างไม่ยั้ง กลัวอ้วนจึงใช้วิธีอาเจียน ใช้ยาระบาย)

74.ผู้ประกาศอิสรภาพให้เวเนซุเอลาในศตวรรษที่ 19 คือใคร::: (ซีโมน โบลิวาร์)

75. สวนรอบพระราชวังแวร์ซายส์ใครออกแบบ::: (อังเดร เลอ โนทร์)

76. ผู้ก่อตั้งประเทศปากีสถานคือใคร::: (โมฮัมหมัด อาลี จินนาห์)

77. วิลเบอร์และออร์วิล ไรท์ พี่น้องชาวอเมริกันสร้างอะไร::: (เครื่องร่อน-เครื่องบิน)

78. จีนแพ้สงครามใดเป็นครั้งแรกให้กับมหาอำนาจตะวันตก::: (สงครามฝิ่น)

79. เคจีบี. เป็นหน่วยสืบราชการลับของประเทศใด::: (รัสเซีย)

80. เมืองหลวงของสาธารณรัฐเชชเนียคืออะไร::: (กรุงกรอซนีย์)

81. ด้านหลังของกระจกส่องหน้าใช้อะไรเคลือบ::: (ปรอท)

82. นายกรัฐมนตรีคนใดของสิงคโปร์อยู่ในตำแหน่งนานถึง 31 ปี::: (ลีกวนยิว)

83. ผสมฟลูออรีนลงในน้ำดื่มเล็กน้อย เพื่อป้องกันอะไร::: (ฟันผุ)

84. รัฐบุรุษคนใดของอังกฤษเขียนเรื่อง "ยูโธเปีย"::: (ธอมัส มอร์)

85. ร่างกายของมนุษย์มีกระดูกกี่ชิ้น::: (206 ชิ้น)

86. คนจีนเรียกปลาหลี่ฮื้อ คนไทยเรียกปลาอะไร::: (ปลาไน)

87. ใครพูด "มนุษยชาติจะต้องนำอวสานมาสู่สงคราม มิฉะนั้นสงครามจะนำอวสานมาสู่มนุษยชาติ"::: (ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้)

88. เมืองใดในอิตาลีที่งดงามจนมีผู้กล่าว "ต้องมาเห็นก่อนตาย"::: (เมืองเนเปิลส์)

89. ตามความเชื่อ นรกขุมไหนมีการลงโทษหนักที่สุดไม่ผุดไม่เกิด::: (โลกันตร์)

90. โบสถ์ที่มีสถาปัตยกรรมงดงามที่สุดในกรุงเอเธนส์คือโบสถ์อะไร::: (พาธินอน)

91. ภาพของพระปรางค์องค์ใดอยู่หลังธนบัตรใบละ 500 บาท::: (ปรางค์สามยอด)

92. ใยของไม้ต้นใดใช้ทอผ้าลินิน::: (แฟลกซ์)

93. เทนนิส 4 รายการใหญ่มีอะไร::: (ออสเตรเลีย โอเพ่น, เฟรนซ์ โอเพ่น, วิมเบิลดัน และยูเอส โอเพ่น)

94. ใครพูด "มนุษย์ทำลายตนเอง โดยไม่ต้องให้พระผู้เป็นเจ้าดลบันดาล"::: (นิทเช นักปรัชญา ชาวเยอรมัน)

95. ผู้ให้กำเนิดรักบี้ฟุตบอลคือใคร::: (วิลเลียม เอลลิส)

96. สิทธิพิเศษทางการค้าที่สหรัฐฯ มีให้แก่ประเทศอื่นๆ เรียกย่อๆ ว่าอะไร::: (จี.เอส.พี)

97. ระบบชลประทานน้ำหยดเป็นความคิดของชาติใด::: (อิสราเอล)

98. ชาวอินเดียนแดงอยู่ในรัฐใดของสหรัฐฯ มากที่สุด::: (อริโซนา ซึ่งเป็นรัฐที่มีภูเขามาก)

99. บุคคลแรกที่มีปลาทองเป็นสัตว์เลี้ยงในฝรั่งเศสคือใคร::: (มาดาม เดอ ปอมปาดูร์)

100. การ์ตูนตัวแรกตัวใดที่ได้รับเกียรติพิมพ์บนแสตมป์ญี่ปุ่นคือ::: (แอสโทรบอย หุ่นยนต์อนาคต)

คงเป็นความรู้สำหรับบางคนได้บ้างนะ

เที่ยวไทย


เจดีย์วัดเขาพลอง

ถึงแม้ว่าสภาพอากาศในช่วงนี้จะแปรปรวน พอๆกับสถานการณ์ทางการเมืองของเรา ในหนึ่งวันมีทั้งอากาศร้อน หนาวและฝนตก แต่เราก็ไม่หวั่นที่จะเก็บกระเป๋าออกเดินทาง เพื่อค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆให้กับชีวิต อย่างกับทริปนี้ที่“ตะลอนเที่ยว”เดินทางมายัง“ชัยนาท”จังหวัดที่ถูกมองเป็นเมืองผ่าน แต่หารู้หรือไม่ว่า ชัยนาทนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลย

สำหรับสถานที่แรก เราเริ่มต้นเปิดประเดิมทริปอย่างเป็นสิริมงคลด้วยการเดินทางไปที่ “วัดปฐมเทศนาอรัญวาสี” หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดเขาพลอง” วัดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ซึ่งนอกจาก“หลวงพ่อชื้น”ที่เป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่ชาวบ้าน ตลอดจนเซียนพระต่างๆแล้ว ด้านบนของวัดนั้นยังเป็นที่ตั้งของเจดีย์สีทองอร่าม ด้านในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจากบริเวณนี้เองเรายังสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองชัยนาทได้แบบ 360 องศา


พระพุทธอริยธัมโม

บริเวณเชิงเขาของวัดนั้นเป็นที่ตั้งของ “พระพุทธอริยธัมโม” พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ มีความสูง 8 วา 3 ศอก 1 นิ้ว รวมฐานสูง 9 วา 3 ศอก 6 นิ้ว หน้าตักกว้าง 6 วา 1 ศอก 8 นิ้ว ศิลปะแบบสุโขทัย ซึ่งหลวงพ่อชื้นท่านได้รวบรวมปัจจัยจากผู้ศรัทธาโดยใช้เวลาสร้างนานกว่า 5 ปี ปัจจุบันไม่ว่าใครที่ผ่านไปมาแถวนี้ก็จะเห็นกับความงามขององค์พระขนาดใหญ่ เด่นเป็นสง่าอยู่อย่างจัดเจน


นกยูงสีสันสดใส ในสวนนก

ไม่ไกลจากวัดเขาพลองเป็นที่ตั้งของ “สวนนกชัยนาท” สถานทีท่องเที่ยวและให้ความรูด้านสัตว์และธรรมชาติ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวนิยมที่จะมากันแบบเป็นครอบครัว มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่ให้ความสนใจ ซึ่งขึ้นชื่อว่าสวนนก แน่นอนว่าต้องเป็นแหล่งที่รวบรวมพันธุ์นกหลากหลาย ทั้งที่มีอยู่ในประเทศไทยเองและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสเปิดโลกการเรียนรู้จากประสบการณ์ใหม่ๆ ได้มากขึ้น ปัจจุบันทางสวนนกชัยนาทได้มีการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมองค์ประกอบภายในตลอดมาจนมีพื้นที่ราว 248 ไร่

อาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

นอกจากกรงนกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่เราสามารถใกล้ชิดกับนกนาๆ พันธุ์แล้ว ยังมีอาคารแสดงพันธุ์ปลาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฯ ซึ่งเป็นที่รวบรวมปลาหลายสายพันธุ์ที่สามารถพบได้ในแม่น้ำเจ้าพระยา หรือว่าจะเป็นทางด้านศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลองซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับเยาวชนตลอดจนผู้ที่สนใจ ภายในมีห้องวีดีทัศน์ดูดาว ซึ่งจะคล้ายๆ กับที่ท้องฟ้าจำลองในกรุงเทพฯ และข้างๆ กันนั้นเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไข่นก ซึ่งรวบรวมเอาไข่นกนานาชนิด และไข่นกซึ่งนำมาประยุกต์เป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มาจัดแสดงไว้

อีกสิ่งหนึ่งที่ถือว่าสวยงามและน่าสนใจมากๆในสวนนกชัยนาท ก็คือ นกฟางหรือหุ่นฟางนก สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของชัยนาท ที่มีการสร้างนกฟางอย่างเนี๊ยบหลากหลายชนิด(ตัวโต)สีสันสวยงามเหมือนจริงไว้ตามจุดต่างๆให้นักท่องเที่ยวมายืนเคียงคู่ถ่ายรูปโดยไม่ต้องกลัวว่านกฟางจะบินหนีเราไป

พระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง

เดินชมนกจริง นกฟางอยู่ในสวนนกเพลินๆกินเวลามาหลายชั่วโมง จากนั้นเรามุ่งตรงมายัง “วัดมหาธาตุ” เดิมนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า“วัดหัวเมือง” หรือ “วัดมิ่งเมือง” โดยที่วัดนี้ป็นที่ตั้งของโบราณสถานเก่าแก่อันน่าสนใจหลายอย่าง แต่ที่เป็นไฮไลท์คือพระปรางค์ทรงกลีบมะเฟือง เป็นศิลปะแบบลพบุรี ซึ่งมีถึง 3 แบบ 3 องค์ หาชมได้ยาก นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปเก่ามากมาย ทั้งที่เป็นศิลปะแบบลพบุรีเองและแบบอยุธยา

ต่อมาเราเดินทางมายัง “วัดพระแก้ว” เพื่อมาชมเจดีย์ทรงสูง ศิลปะแบบละโว้ สันนิษฐานว่าสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 มีอายุประมาณ 600-700 ปี แต่ยังคงความสวยงามและความสมบูรณ์มาถึงปัจจุบัน จนหลายคนบอกกันปากต่อปากว่าเป็นเจดีย์ที่สวยที่สุดในเอเชียเลยทีเดียว

หลวงพ่อฉาย

ส่วนด้านหน้าของเจดีย์นี้เป็นที่ตั้งของ Unseen ในจังหวัดชัยนาท นั่นก็คือ “หลวงพ่อฉาย” พระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นจากศิลาแลง แต่ที่มีความไม่เหมือนใครตรงที่เรียกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์ เดียวในประเทศไทยที่มีทับหลัง แกะสลักเป็นรูปช้างเอราวัณ และพระศิวะ ศิลปะคล้ายกับทางเขมร โดยสันนิษฐานว่าทับหลังนี้อาจจะปนมากับศิลาแลงที่เรานำเข้ามาสร้างเป็นพระพุทธรูป ซึ่งไม่ว่าจะเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญหรือตั้งใจ นับว่าเป็นของเก่าแก่ซึ่งหาดูได้ยากในปัจจุบัน

หุ่นฟางนก ของดีคู่บ้านคู่เมืองชัยนาท

สำหรับของดีคู่บ้านคู่เมืองชัยนาทอีกอย่างที่คนทั่วไปรู้จักกันดีนั่นก็คือ “หุ่นฟางนก” ที่นอกจะมีให้ชมจำนวนมากในสวนนกชัยนาทแล้ว ทุกๆปีทางจังหวัดชัยนาทยังมีการจัดงานประจำปีมหกรรมหุ่นฟางนกกันอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งล่าสุดก็เพิ่งจัดผ่านพ้นไปในไม่กี่วันมานี้

หุ่นฟางนกทำจากจากฝีมืออันปราณีตของชาวบ้าน ซึ่งน้อยคนที่จะรู้ว่า ปัจจุบันงานฝีมือชนิดนี้ การันตีด้วยการส่งขายต่างประเทศ ที่มีกำลังซื้อเข้ามาอย่างไม่ขายสาย เรียกกันว่าทำส่งขายกันไม่ทันเลยทีเดียว

เดิมทีการทำหุ่นจากฟางข้าวนั้นเราจะคุ้นเคยกันกับหุ่นไล่กาเสียมากกว่า ซึ่งชาวชัยนาทเองก็ได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบ จนมาลงตัวที่หุ่นฟางนก อย่างทุกวันนี้ นอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างจากการทำไร่ทำนาให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังเป็นการนำวัสดุที่เหลือใช้อย่างฟาง มาทำให้เกิดมูลค่าสร้างรายได้ในชุมชน แต่วิธีการทำนั้นก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะต้องมีการศึกษาและสังเกตุโครงสร้างของนกแต่ละชนิดให้ละเอียดก่อน และค่อยๆ บรรจงทำแต่ละส่วนตั้งแต่ตัว หัว ปีก ซึ่งกว่าจะเสร็จ 1 ตัว ก็ใช้เวลาไปถึง 1 สัปดาห์ แต่ราคาก็คุ้มค่ากับการลงแรง

ทำบุญห่มผ้าพระธาตุ

นอกจากมหกรรมหุ่นฟางนกแล้ว ในชัยนาทยังมีประเพณีที่น่าสนใจอย่าง“การห่มผ้าพระธาตุ” โดยสถานที่ที่เราไปร่วมทำบุญห่มผ้าพระธาตุนั้นก็คือที่ “วัดพระบรมธาตุวรวิหาร” ที่มีองค์พระธาตุเจดีย์สวยเด่น

สำหรับการห่มผ้าพระธาตุนี้ พุทธศาสนิกชนต่างเชื่อกันว่าผู้ร่วมกระทำจะได้บุญมาก และเป็นสิริมงคลกับชีวิตสูงสุด จึงสืบสานมาเป็นประเพณีที่มีในหลายจังหวัด แต่ถ้าขึ้นชื่อที่สุดก็ต้องยกให้ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จะเกิดขึ้นในช่วงวันมาฆบูชาของทุกปี

ยามเย็นริมเจ้าพระยา เส้นเลือดหลักแห่งเมืองชัยนาท

ด้วยความที่เมืองชัยนาทเองอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เราจึงเปลี่ยนวิถีการเที่ยวจากรถมาลงเรือ เพื่อย้อนอดีตไปยังสมัยก่อน ที่การคมนาคมทางน้ำเป็นอะไรที่สะดวกสบาย และนอกจากนั้นวัดสำคัญๆ ของชัยนาทส่วนใหญ่ก็จะติดริมแม่น้ำ รวมถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งใครมาชัยนาทและไม่ได้มากราบไหว้หลวงปู่ศุขที่วัดนี้ก็ถือว่ายังมาไม่ถึง

ขณะที่นั่งเรือชมบรรยากาศสองฝั่งแม่น้ำอยู่นั้นเองก็ปรากฏกลุ่มก้อนสีดำ ลอยตัวอยู่ด้านหน้าเรือ ซึ่งเพื่อนร่วมทริปคนหนึ่งบอกว่าอาจเป็นกลุ่มของผึ้งขนาดใหญ่ที่กำลังอพยพ แต่นาทีที่เรือของเราค่อยๆ เคลื่อนตัวเข้าหา ปรากฏว่าเป็น

กลุ่มของตัวต่อหัวเสือ ขนาดใหญ่ หลายร้อยตัว คนในเรือต่างหาที่หลบกันโกลาหล แต่น่าอัศจรรย์ที่กลุ่มตัวต่อนั้นไม่เข้ามาในเรือแม้แต่ตัวเดียว แต่กลับบินแหวกทางให้เรือผ่านไปได้ และหายไปอย่างไร้ร่องรอย สร้างความฉงนสงสัยให้กับเพื่อนร่วมทริปว่า แม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีความกว้างใหญ่ขนาดนี้ เหตุใดจึงมีกลุ่มตัวต่อหลายร้อยตัวบินอยู่กลางแม่น้ำ

ภาพเขียนในพระอุโบสถ

อาจเป็นเรื่องบังเอิญแต่ก็ทำให้เราอดคิดถึงเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของ “หลวงปู่ศุข” ไม่ได้ ที่ตามตำนานเล่ากันว่า ท่านมีอาคมที่สามารถเสกใบมะขามให้กลายเป็นตัวต่อ แตน ได้ ซึ่งพอนึกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็พาให้หลายคนรู้สึกขนลุกไปตามๆกัน

ปัจจุบันวัดปากคลองมะขามเฒ่านั้นคราคล่ำไปด้วยผู้คน ทั้งชาวบ้านและนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมากราบไหว้สักการะ เช่าบูชาวัตถุมงคลต่างๆ แต่สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งภายในวัดก็คือ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ศุข ซึ่งร่วมกับข้าราชบริพาร เขียนไว้ในพระอุโบสถ เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติต่างๆ ที่สอดแทรกความเป็นตัวของท่านเอง เฉกเช่นศิลปินคนหนึ่งลงไป ซึ่งมีความสวยงามและแปลกตา ไม่เหมือนใคร

ฝูงนกบินกลับรังที่เกาะเมืองท้าวอู่ทอง

สถานที่เที่ยวเกี่ยวกับน้ำอีกแห่งหนึ่งในชัยนาทที่น่าสนใจมากก็คือ “บึงกระจับใหญ่” ที่มี“เกาะเมืองท้าวอู่ทอง”เกาะกลางน้ำตามธรรมชาติขนาดใหญ่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่กลางบึง

บึงกระจับใหญ่ ในช่วงนี้ถือเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญของชัยนาท เพราะเป็นฤดูที่นกเป็ดน้ำและนกในตระกูลนกปากห่างตลอดจนนกประจำถิ่นต่างๆ อพยพมาอาศัยอยู่นับพันตัว ซึ่งการได้นั่งเรือชมฝูงนกยามเย็นนั้น เป็นอีกประสบการณ์หนึ่งที่ต้องลองมาสัมผัสสักครั้งหนึ่ง ลูกนกเป็ดน้ำตัวน้อยค่อยๆ บินถลาลงสู่น้ำ นั้นเป็นภาพที่น่ารักอย่าบอกใคร ก่อนที่ท้ายสุดพระอาทิตย์ดวงโตจะค่อยๆลาลับจากขอบฟ้าไป ทิ้งภาพเมืองชัยนาทไว้ในความทรงจำ

และนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่น่าสนใจในชัยนาท จังหวัดที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ซึ่งหากใครมีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยว ก็จะพบว่าชัยนาทนั้นมีความน่าสนใจมากกว่าที่คิดจริงๆ

ประวัติอินเทอร์เน็ต


ประวัติอินเทอร์เน็ต



ความคิดเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์เครือข่ายเดียวที่สามารถให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถสื่อสารกันได้นั้นได้มีการพัฒนาผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอนด้วยกัน การหลอมรวมกันของการพัฒนาเหล่านั้นได้นำไปสู่เครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลายที่รู้จักกันในชื่อว่า อินเทอร์เน็ต การพัฒนาเหล่านั้นมีทั้งในแง่การพัฒนาเทคโนโลยี และการรวมโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายและระบบโทรคมนาคมที่มีอยู่เดิมเข้าด้วยกัน

ความคิดเรื่องนี้ในครั้งแรก ๆ ปรากฏขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 หากแต่การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติได้จริงนั้นเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เทคโนโลยีซึ่งนับได้ว่าเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตสมัยใหม่นั้นได้เริ่มแพร่หลายออกไปทั่วโลก ในคริสต์ทศวรรษ 1990 การมาถึงของเวิลด์ไวด์เว็บได้ทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตกลายเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป


ก่อนอินเทอร์เน็ต

ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ถึง 1960 ก่อนการแพร่หลายของการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายจนเป็นอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน เครือข่ายการสื่อสารส่วนมากยังคงมีข้อจำกัดเนื่องด้วยธรรมชาติของตัวเครือข่ายเอง ซึ่งทำให้การสื่อสารสามารถกระทำได้ระหว่างสถานีในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ข่ายงานบางแห่งมีเกตเวย์หรือบริดจ์ต่อระหว่างกัน หากแต่เกตเวย์หรือบริดจ์เหล่านั้นยังมีข้อจำกัดหรือมิฉะนั้นก็สร้างขึ้นเพื่อใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น วิธีเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้กันในขณะนั้นวิธีหนึ่งมีพื้นฐานจากวิธีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรม ซึ่งคือการยินยอมให้เครื่องปลายทาง (เทอร์มินัล) ที่อยู่ห่างไกลออกไปสามารถติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านทางสายเช่า วิธีนี้ใช้กันในคริสต์ทศวรรษ 1950 โดยโครงการแรนด์ เพื่อสนับสนุนการติดต่อกันระหว่างนักวิจัยที่อยู่ห่างไกลกัน ตัวอย่างเช่น เฮอร์เบิร์ต ไซมอน ในเมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนน์ซิลเวเนีย สามารถดำเนินงานวิจัยในเรื่องการพิสูจน์ทฤษฎีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับเหล่านักวิจัยซึ่งอยู่อีกฝั่งของทวีปในเมืองแซนทามอนิกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียได้ ผ่านทางเครื่องปลายทางและสายเช่า


เครื่องปลายทางสามเครื่องและอาร์พา

เจ.ซี.อาร์. ลิกไลเดอร์ ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการเรียกร้องการพัฒนาเครือข่ายระดับโลกคนหนึ่ง ได้เสนอความคิดของเขาไว้ในบทความวิชาการชื่อ "Man-Computer Symbiosis" ตีพิมพ์เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 1960 ดังนี้

"A network of such [computers], connected to one another by wide-band communication lines" which provided "the functions of present-day libraries together with anticipated advances in information storage and retrieval and [other] symbiotic functions. " —เจ.ซี.อาร์. ลิกไลเดอร์[1]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1962 ลิกไลเดอร์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าสำนักงานประมวลผลข้อมูลของอาร์พา หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา และได้ตั้งกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการภายในดาร์พาขึ้นกลุ่มหนึ่งเพื่อวิจัยทางคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ได้มีการติดตั้งเครื่องปลายทางขึ้นสามเครื่อง เครื่องหนึ่งติดตั้งที่ซิสเต็มดีเวลอปเมนต์คอร์เปอเรชัน ในเมืองแซนทามอนิกา อีกเครื่องหนึ่งสำหรับโครงการจีนีในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และอีกเครื่องหนึ่งสำหรับโครงการชอปปิงซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการมัลทิกส์ ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ทั้งสามเครื่องนี้มีฐานะเป็นส่วนหนึ่งในบทบาทของสำนักประมวลผลข้อมูลฯ ความต้องการวิธีเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่ายของลิกไลเดอร์จะเห็นได้เป็นรูปธรรมจากปัญหาทางเทคนิคของโครงการนี้

"For each of these three terminals, I had three different sets of user commands. So if I was talking online with someone at S.D.C. and I wanted to talk to someone I knew at Berkeley or M.I.T. about this, I had to get up from the S.D.C. terminal, go over and log into the other terminal and get in touch with them.
"I said,it's obvious what to do (But I don't want to do it) : If you have these three terminals, there ought to be one terminal that goes anywhere you want to go where you have interactive computing. That idea is the ARPAnet." —รอเบิร์ต ดับเบิลยู. เทเลอร์ ผู้ประพันธ์ "The Computer as a Communications Device" ร่วมกับลิกไลเดอร์ กล่าวในการสัมภาษณ์โดยหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์[2]


แพกเกตสวิตชิง

ปัญหาหนึ่งในบรรดาปัญหาการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคือการเชื่อมต่อเครือข่ายทางกายภาพที่แตกต่างกันหลายเครือข่ายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นเครือข่ายเชิงตรรกเครือข่ายเดียว ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ดอนัลด์ เดวีส์(ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา) พอล บาแรน (แรนด์คอร์เปอเรชัน) และเลเนิร์ด ไคลน์ร็อก (เอ็มไอที) ได้ร่วมกันพัฒนาแนวคิดแพกเกตสวิตชิงและพัฒนาระบบตามแนวคิดนั้นขึ้น ความเชื่อที่ว่าอินเทอร์เน็ตถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้หลังการโจมตีโดยอาวุธนิวเคลียร์นั้น มีรากฐานมากจากทฤษฎีที่แรนด์พัฒนาขึ้นในช่วงแรก ๆ นี่เอง งานวิจัยของบาแรนซึ่งศึกษาการกระจายเครือข่ายโดยไม่มีศูนย์กลางเพื่อหลีกเลี่ยงการความเสียหายจากการสู้รบซึ่งทำให้เครือข่ายไม่สามารถใช้การได้นั้น ได้นำไปสู่การพัฒนาแพกเกตสวิตชิงในเวลาต่อมา[3]


เครือข่ายซึ่งนำไปสู่อินเทอร์เน็ต


อาร์พาเน็ต

เมื่อรอเบิร์ต เทเลอร์ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าสำนักงานประมวลผลข้อมูลของอาร์พา เขาได้พยายามที่จะทำให้ความคิดของลิกลิเตอร์ในเรื่องระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นจริงขึ้นมา เทเลอร์ได้ขอตัวแลร์รี รอเบิตส์จากเอ็มไอที และตั้งโครงการเพื่อสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้น การเชื่อมโยงเครือข่ายอาร์พาเน็ตครั้งแรกเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ในวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1969 เครือข่ายได้เพิ่มเป็นสี่จุดในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1969 โดยเพิ่มมหาวิทยาลัยยูทาห์และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนทาบาร์บารา หลังจากนั้น โดยอาศัยแนวคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการพัฒนาอะโลฮาเน็ต อาร์พาเน็ตได้ถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1972 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ใน ค.ศ. 1981 จำนวนโฮสต์ได้เพิ่มขึ้นเป็น 213 โฮสต์ และมีโฮสต์ใหม่เพิ่มขึ้นประมาณทุก ๆ 20 วัน[4][5]

อาร์พาเน็ตได้กลายเป็นแก่นทางเทคนิคของสิ่งที่จะกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาต่อมา และยังเป็นเครื่องมือหลักอันหนึ่งในการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต การพัฒนาอาร์พาเน็ตนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่กระบวนการอาร์เอฟซี ซึ่งมีไว้สำหรับการเสนอและกระจายเกณฑ์วิธีและระบบอินเทอร์เน็ต กระบวนการนี้ยังคงใช้จนกระทั่งปัจจุบัน อาร์เอฟซี 1 ซึ่งมีชื่อว่า "Host Software" เขียนโดยสตีฟ ครอกเกอร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส และตีพิมพ์เมื่อ 7 เมษายน ค.ศ. 1969 ปีแรก ๆ ของอาร์พาเน็ตได้ถูกบันทึกไว้ในภาพยนตร์สารคดีปี 1972 เรื่อง Computer Networks: The Heralds of Resource Sharing

ความร่วมมือในระดับนานาชาติบนอาร์พาเน็ตนั้นนับว่าเบาบาง ด้วยเหตุผลทางการเมืองหลายข้อ นักวิจัยในยุโรปนั้นจึงข้องเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่าย X.25 มากกว่า ข้อยกเว้นที่ควรบันทึกไว้ได้แก่การเข้าร่วมของกลุ่มเครื่องวัดแผ่นดินไหวนอร์เวย์ ใน ค.ศ. 1972 ตามด้วยสวีเดนใน ค.ศ. 1973 โดยการเชื่อมโยงผ่านดาวเทียมที่สถานีภาคพื้นที่เมืองทานุม และยูนิเวอร์ซิตีคอลเลจลอนดอน

อนึ่ง อาร์พา (ARPA) เปลี่ยนชื่อเป็นดาร์พา (DARPA) ใน ค.ศ. 1972 และมีการเปลี่ยนชื่อกลับไปกลับมาอีกหลายครั้ง แต่อาร์พาเน็ตยังคงใช้ชื่อเดิม


X.25

โดยอาศัยงานวิจัยของอาร์พา สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ได้พัฒนามาตรฐานเครือข่ายแพกเกตสวิชชิงขึ้นในรูปของ X.25 และมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อถึง ค.ศ. 1974 X.25 ได้ก่อตั้งพื้นฐานสำหรับเครือข่าย SERCnet ระหว่างสถาบันวิชาการและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักรขึ้น ซึ่งในภายหลังได้กลายเป็น JANET มาตรฐานขั้นต้นของไอทียูเกี่ยวกับ X.25 ได้รับการรับรองในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1976 โดยมาตรฐานดังกล่าวมีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดเรื่องวงจรเสมือน

สำนักงานไปรษณีย์สหราชอาณาจักร เวสเทิร์นยูเนียนอินเตอร์แนชันแนล และทิมเน็ตได้ร่วมมือกันสร้างเครือข่ายแพกเกตสวิตชิงระดับนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า International Packet Switched Service (IPSS) ใน ค.ศ. 1978 เครือข่ายนี้เติบโตจากทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาไปยังแคนาดา ฮ่องกง และออสเตรเลียใน ค.ศ. 1981 เครือข่ายนี้ได้กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายระดับโลกในคริสต์ทศวรรษ 1990[6]

ต่างจากอาร์พาเน็ต X.25 นั้นมีให้ใช้ทั่วไปเพื่อการใช้งานทางธุรกิจด้วย X.25 ได้ถูกนำไปใช้ในเครือข่ายสาธารณะเข้าถึงได้ (public access network) โดยการหมุนโทรศัพท์ในยุคแรก ๆ เช่นคอมพิวเซิร์ฟและทิมเน็ต ในค.ศ. 1979 คอมพิวเซิร์ฟเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่ให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลสามารถใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ รวมทั้งมีบริการสอบถามแก้ไขปัญหาทางเทคนิคด้วย คอมพิวเซิร์ฟยังเป็นรายแรกที่ให้บริการสนทนาแบบเรียลไทม์ด้วยโปรแกรม CB Simulator นอกจากคอมพิวเซิร์ฟ ผู้ให้บริการเครือข่ายแบบหมุนโทรศัพท์รายอื่นมีอาทิ อเมริกาออนไลน์ และโพรดิจี นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (บีบีเอส) อีกหลายเครือข่าย เช่น ไฟโดเน็ต สำหรับไฟโดเน็ตนั้นเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นงานอดิเรก ซึ่งหลายคนในนั้นเป็นแฮกเกอร์และนักวิทยุสมัครเล่น


UUCP

ใน ค.ศ. 1979 นักศึกษามหาวิทยาลัยดุกสองคน ได้แก่ ทอม ทรัสคอตต์ และ จิม เอลลิส ได้เกิดความคิดที่จะใช้ภาษาเชลล์สคริปต์บอร์นอย่างง่าย ๆ เพื่อส่งข่าวและข้อความผ่านสายอนุกรมกับมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ณ แชเพิลฮิลล์ ที่อยู่ใกล้กัน หลังจากซอฟต์แวร์ดังกล่าวได้เผยแพร่สู่สาธารณะ ข่ายของโฮสต์ที่ใช้ UUCP ก็ได้ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เครือข่ายดังกล่าว ที่ต่อมาจะใช้ชื่อ UUCPnet ยังได้สร้างเกตเวย์และการเชื่อมโยงระหว่างไฟโดเน็ตและโฮสต์บีบีเอสแบบหมุนโทรศัพท์หลาย ๆ แห่งขึ้นด้วย เครือข่าย UUCP ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า และยังสามารถใช้สายเช่าที่มีอยู่เดิม ลิงก์ของ X.25 หรือการเชื่อมต่อของอาร์พาเน็ตได้ด้วย ใน ค.ศ. 1983 จำนวนโฮสต์ UUCP ได้เพิ่มขึ้นเป็น 550 โฮสต์ และเพิ่มเป็น 940 โฮสต์หรือเกือบสองเท่าใน ค.ศ. 1984


การรวมเครือข่ายเข้าด้วยกันและกำเนิดอินเทอร์เน็ต


TCP/IP

ได้มีความพยายามที่จะรวมวิธีติดต่อของเครือข่ายต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเข้าด้วยกัน โดยรอเบิร์ต อี. คาห์นจากดาร์พาและอาร์พาเน็ตได้ขอตัววินต์ เซิร์ฟจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเพื่อทำงานร่วมกับเขาเพื่อแก้ปัญหานี้ ใน ค.ศ. 1973 ทั้งสองได้พัฒนาแนวทางแก้ไขขั้นมูลฐานขึ้น โดยในแนวทางนี้ ความแตกต่างระหว่างเกณฑ์วิธีต่าง ๆ จะถูกซ่อนไว้โดยใช้เกณฑ์วิธีระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งร่วมกัน และแทนที่ตัวเครือข่ายจะรับผิดชอบเรื่องความเชื่อถือได้ของข้อมูลอย่างในอาร์พาเน็ต โฮสต์จะเป็นผู้รับผิดชอบแทน เซิร์ฟยกความดีความชอบเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ ในการออกแบบเกณฑ์วิธีนี้ให้แก่ ฮิวเบิร์ต ซิมเมอร์แมน, เชราร์ เลอลาน และลุย ปูแซง (ผู้ออกแบบเครือข่าย CYCLADES) [7]

เมื่อบทบาทของตัวเครือข่ายได้ถูกลดลงจนเหลือน้อยที่สุดแล้ว จึงเป็นไปได้ที่จะเชื่อมเครือข่ายใด ๆ แทบทุกแบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าคุณลักษณะของเครือข่ายนั้น ๆ จะเป็นเช่นไร อันเป็นการแก้ปัญหาขั้นต้นที่คาห์นตั้งไว้ดาร์พาได้เห็นชอบที่จะให้เงินทุนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ต้นแบบ และหลังจากการลงแรงเป็นเวลาหลายปี จึงได้มีการสาธิตเกตเวย์อย่างหยาบ ๆ เป็นครั้งแรกระหว่างเครือข่ายแพกเกตเรดิโอในซานฟรานซิสโกเบย์แอเรียกับอาร์พาเน็ต ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1977 ได้มีการสาธิตการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายสามแห่ง ซึ่งได้แก่ อาร์พาเน็ต, เครือข่ายแพกเกตเรดิโอ และเครือข่ายแอตแลนติกแพกเกตแซเทลไลต์ ซึ่งทั้งหมดอุปถัมภ์โดยดาร์พา ในส่วนของเกณฑ์วิธี เริ่มต้นจากข้อกำหนดคุณลักษณะรุ่นแรกของ TCP ใน ค.ศ. 1974 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้ก่อตัวเป็นรูปร่างซึ่งใกล้เคียงกับรูปแบบสุดท้ายในประมาณกลางปีถึงปลายปี ค.ศ. 1978 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้ตีพิมพ์เป็นอาร์เอฟซี 791, 792 และ 793 และได้ถูกนำไปใช้ ดาร์พาได้อุปถัมภ์หรือส่งเสริมการพัฒนาการนำ TCP/IP ไปใช้จริงในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จากนั้นจึงได้กำหนดตารางเวลาในการโยกย้ายโฮสต์ทุกตัวในเครือข่ายแพกเกตของตนไปใช้ TCP/IP ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1983 เกณฑ์วิธี TCP/IP ได้กลายเป็นเกณฑ์วิธีเดียวที่ได้รับการรับรองบนอาร์พาเน็ต แทนที่เกณฑ์วิธี NCP ที่ใช้แต่เดิม