โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปลาไทย


เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลปลากระดี่ ปลาในตระกูลนี้ ได้แก่ ปลาแรด ปลากระดี่ ปลาสลิด ปลากัด ฯลฯ จะมีอวัยวะพิเศษเพื่อช่วยการหายใจ ( Labyrinth organ ) อยู่ในโพรงอากาศ หลังช่องเหงือก ที่จะมีเนื้อเยื่อรอยหยัก และมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง ทำให้ปลาในตระกูลนี้ ต้องโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และสาเหตุนี้เองที่ทำให้ปลาแรดอาศัยอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำๆ ได้ ปลาแรดมีรูปร่างแบนข้างมาก กระดูกแก้มมีขอบเป็นจักร เกล็ดเป็นรูปหยัก เวลาจับจะรู้สึกสากมือ ครีบหลังและครีบก้น มีก้านเดี่ยวเป็นหนามแหลม ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องอันแรกเปลี่ยนรูปเป็นรยางค์ยาว มีลักษณะเป็นเส้น ( ตะเกียบ , ไม้เท้า ) ปลายหางกลมมน ส่วนหัวเล็กและป้าน มีฟันแข็งแรง ปลาแรดมีสีสันต่าง ๆ กันตามขนาด และอายุของปลา ปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีดำอมม่วงปนเหลือง และมีแถบสีดำข้างละ 8 แถบ มีจุดสีดำที่โคนหาง ข้างละจุด เมื่อปลาโตขึ้น จะมีสีที่อ่อนลงกว่าเดิม เมื่อโต ขึ้น จะมีนอขึ้นบริเวณหน้า เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาเพศผู้ ตรงนี้เองน่าจะเป็นที่มา ของชื่อปลาแรด ปลาแรดสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และตู้กระจก ปลาแรดเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ง่าย มีความทนทาน และปรับตัวเข้ากับสถานที่ที่คับแคบได้ แต่อัตราการเจริญเติบโตจะค่อนข้างช้า ปลาแรดสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิด ปลาที่อยู่ในบ่อเป็นตัวกำจัดวัชพืชพวกจอก แหน ชั้นเยี่ยม ปลาแรดเป็นปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาด กะหล่ำ กล้วย อาหารสำเร็จรูป กุ้งฝอย เนื้อสัตว์หั่นชิ้น ลูกไร ลูกน้ำ ปลาเหยื่อ ฯลฯ การเลี้ยงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็กอื่น ๆ เนื่องจากอุปนิสัยที่ค่อนข้างก้าวร้าว ในกรณีที่เลี้ยงกับปลาแรดด้วยกัน ควรปล่อยปลาให้มีขนาดที่เท่ากัน และควรมีที่หลบซ่อนได้บ้าง เพราะปลาแรดจะทำร้ายกันเองในบางครั้ง กรณีเลี้ยงในตู้ ควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระโดด ปลาแรดที่โตเต็มวัย เป็นปลาที่มีพละกำลังมาก หากทำการเคลื่อนย้าย ควรกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะปลาอาจจะบอบช้ำเนื่องจากการกระโดดและการดิ้นที่รุนแรง จนอาจเกิดการสูญเสียได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น