โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โปรเเกรม Microsolf PowerPoint 2002

บทความนี้จะพูดถึงทางเลือกของเอกสารใน Microsoft PowerPoint 2002 อันได้แก่ การพิมพ์เอกสารจากตัวอย่างก่อนพิมพ์ ซึ่งเป็นมุมมองใหม่ ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนหน้าหลักของเอกสารได้ และทางเลือกอื่น ๆ ของเค้าโครงที่คุณสามารถเลือกได้ อย่างเช่น พิมพ์เอกสารใน Microsoft Word
การตั้งค่าทางเลือกของเอกสาร
ใน PowerPoint 2002 คุณจะสามารถตั้งค่าของตัวเลือกของเอกสารสำหรับการพิมพ์ได้หลายแบบดังนี้:
ผ่านกล่องโต้ตอบ Print (เมนู File คำสั่ง Print)
ในตัวอย่างก่อนพิมพ์ (ปุ่ม Print Preview บนแถบเครื่องมือ Standard)
ข้อดีของตัวอย่างก่อนพิมพ์ก็คือคุณสามารถมองเห็นเค้าโครงที่คุณเลือกได้ว่าเป็นอย่างไร และคุณสามารถที่จะเพิ่มหรือเปลี่ยนข้อความบนหัวหรือข้างท้ายกระดาษในมุมมองนี้ได้
ตัวอย่างเค้าโครง
เลือกตัวใดตัวหนึ่งจากตัวเลือกเค้าโครง 6 ชนิดสำหรับเอกสารรวมไปถึงจำนวนสไลด์ที่คุณต้องการใส่ไว้ต่อหน้า, เลือก 1,2,3, 4, 6 หรือ 9



เค้าโครงแบบหนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งหน้า ที่มาพร้อมการกำหนดในแนวนอนจากซ้ายไปขวา และส่วนหัวและท้ายกระดาษ นั้นเราสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ ข้อสังเกต หัวและท้ายของกระดาษในหน้าของเอกสารจะแยกออกจากสิ่งที่คุณเพิ่มเข้าไปในสไลด์ด้วยตัวเองอย่างชัดเจน
เค้าโครงแบบสามสไลด์ในหนึ่งหน้า ตัวเลือกนี้มีการกำหนดในแนวดิ่งด้วยและมาพร้อมกับบันทัดว่างให้ผู้ชมได้แสดงความคิดเห็น ในตัวอย่าง ส่วนหัวและส่วนท้ายนั้นถูกจัดไว้กึ่งกลาง คุณสามารถที่จะจัดตำแหน่ง ขนาดและแบบของส่วนหัวและท้ายได้จากเอกสารหน้าหลัก
เอกสารที่มี 6 สไลด์ต่อหนึ่งหน้า จะกำหนดตำแหน่งจากซ้ายไปขวา สำหรับสี่หรือมากกว่าสไลด์ในหนึ่งหน้า จงเลือกระหว่างการอ่านตามขวาง หรือ การอ่านลง
การพิมพ์เอกสารจากตัวอย่างก่อนพิมพ์
เปิดหน้าที่คุณต้องการจะพิมพ์
บนแถบเครื่องมือ Standard ให้คลิก Print Preview
ในกล่องPrint What บนแถบเครื่องมือ ให้คลิกตัวเลือกของแบบเอกสารแบบใดแบบหนึ่ง
ถ้าต้องการเลือกการจัดวางหน้า ให้คลิกปุ่ม Portrait หรือ Landscape
ถ้าต้องการเลือกสีหรือขาวดำ คลิกที่ลูกศรบนปุ่ม Options ชี้ไปที่ Color/Grayscale และเลือกหนึ่งในสามสีตัวเลือก
Color หรือ Color (บนเครื่องพิมพ์ขาวดำ) หากคุณพิมพ์ไปที่เครื่องพิมพ์สี ตัวเลือกนี้จะพิมพ์เอกสารเป็นสี หากคุณพิมพ์ไปที่เครื่องพิมพ์ขาวดำ ตัวเลือกนี้จะพิมพ์ตามสีที่มีทุกสีในเฉดสีเทา
Grayscale พิมพ์เอกสารในโทนสีเทาพร้อมด้วยสีบางสี อย่างเช่นการเติมสีพื้นหลังเข้าไป แสดงเป็นสีขาวเพื่อให้อ่านได้ง่าย (บางครั้ง ดูคล้ายกับ Pure Black and White)
Pure Black and White พิมพ์เอกสารโดยไม่มีสีเทา
ถ้าต้องการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงข้อความที่หัวหรือท้ายกระดาษ ให้คลิกที่ปุ่ม Options และคลิก Header and Footer
เมื่อกำลังพิมพ์เอกสารที่มีสไลด์สี่หรือมากกว่าในหนึ่งหน้า ให้คลิกลูกศรบนปุ่ม Options ชี้ไปที่ Printing Order และเลือก Horizontal หรือ Vertical
คลิก Print เลือกตัวเลือกเพิ่มเติมในกล่องโต้ตอบ Print และคลิก OK
ตัวเลือกเพิ่มเติมในกล่องโต้ตอบ Print ในกล่องโต้ตอบ Print คุณสามารถที่จะเลือกการพิมพ์แบบอื่น ๆได้เช่นเดียวกับขอดูอีกครั้ง หรือแก้ไขสิ่งที่คุณเลือกจากตัวอย่างก่อนพิมพ์แล้ว ตัวเลือกบางอันที่มีในที่นี้แต่ไม่มีในตัวเลือกก่อนพิมพ์ คือ :
Print range หากว่าคุณต้องการจะพิมพ์หน้าปัจจุบันของเอกสาร คุณสามารถเลือก Current slide (หมายเหตุ ตัวเลือกนี้จะพิมพ์หน้าที่คุณเลือกเป็นหน้า 1 เสมอ ไม่ว่าจะมีการเรียงลำดับเอกสารทั้งหมดไว้ก่อนหน้านี้อย่างไร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ปิดระบบการเรียงหน้าในกล่องโต้ตอบ Header and Footer ก่อนที่พิมพ์หน้าปัจจุบันของเอกสาร)
Number of copies คุณสามารถเลือกให้พิมพ์ได้หลายชุด
เปลี่ยนรูปลักษณ์หรือตำแหน่งของส่วนหัวและท้ายกระดาษ
หากว่าคุณต้องการส่วนหัวหรือท้ายกระดาษให้มีขนาดและตำแหน่งไม่เท่ากัน หรือคุณต้องการที่จะเปลี่ยนแบบอักษร, ให้เข้าไปเปลี่ยนที่หน้าหลักของเอกสาร การเปลี่ยนแปลงส่วนหัวและท้ายของกระดาษที่คุณทำขึ้นในหน้าหลักของเอกสารจะส่งผลถึงหัวข้อที่พิมพ์ไปแล้วด้วย
ในตัวอย่างพิมพ์ ในกล่อง Print What เลือกชนิดของเอกสารที่ต้องการ จากนั้นคลิกปุ่ม Close
ในมุมมองปกติ บนเมนู View ให้ชี้ไปที่ Master และคลิก Handout Master
เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง:
เพื่อย้ายplaceholderที่ส่วนหัวและท้ายของเอกสาร, ใช้ตัวชี้ชี้ไปที่บริเวณดังกล่าว และเมื่อตัวชี้กลายเป็นลูกศรสี่หัว ลากplaceholder ไปยังตำแหน่งใหม่
เพื่อปรับขนาดของplaceholder ของส่วนหัวและท้าย เลือกบริเวณดังกล่าว ใช้ตัวชี้ชี้ไปที่คำสั่งระบุขนาดและเมื่อตัวชี้กลายลูกศรสองหัว ลากรูปมือ
เพื่อเปลี่ยนตัวหนังสือที่หัวและท้ายเอกสาร เลือกplaceholder และบนเมนู Format ให้คลิก Font และเลือกตัวเลือกในกล่องโต้ตอบ Font
เพื่อเปลี่ยน fill colour หรือขอบนอกของplaceholder , เลือก placeholder และไปที่ เมนู Format คลิก Placeholder คลิกแท็บ Colors and Lines และเลือกตัวเลือกใต้คำว่า Fill and Line
เพื่อที่จะดูว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เอกสารพร้อมทั้งหัวและท้ายกระดาษเป็นอย่างไร ให้คลิกปุ่ม Print Preview บนแถบเครื่องมือ Standard ถ้าคุณแค่ต้องการปิดหน้าหลักของเอกสารให้ไปที่แถบเครื่องมือ Handout Master View คลิก Close Master View
หมายเหตุ หากว่าคุณลบ placeholder ในเอกสารหน้าหลัก คุณสามารถreapply placeholder ในมุมมองของเอกสารหลักได้ บนเมนู Format ให้คลิก Handout Master Layout เลือกกล่องกาเครื่องหมายสำหรับ placeholder ที่คุณต้องการ และคลิก OK
ทางเลือกของเค้าโครง
หากว่าคุณต้องการชนิดของเค้าโครงที่ไม่มีใน PowerPoint, สามารถจะสร้างเอกสารเพิ่มขึ้นได้ใน Word
บนเมนู File ให้ชี้ไปที่ Send To คลิก Microsoft Word และเลือกตัวเลือกเค้าโครง
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการพิมพ์สามสไลด์ต่อหนึ่งหน้า แต่ไม่ต้องการบรรทัดสำหรับความคิดเห็นของผู้ชม ส่งเอกสารไปที่ Word เลือกตัวเลือก Blank lines next to slides และลบบรรทัดใน Word สำหรับตัวเลือกข้อคิดเห็นในWord ให้เลือก Blank lines below slides ซึ่งรวมบรรทัดว่างสำหรับความคิดเห็นของผู้ชมที่มาพร้อมกับเค้าโครงแบบหนึ่งสไลด์ต่อหนึ่งหน้า ในรูปแบบแนวดิ่ง
หากว่าคุณต้องการตัวเลือกของการพิมพ์หน้าเอกสารแบบหน้าเดียวในขณะที่รักษาเลขหน้าที่ถูกต้องเอาไว้ได้ ส่งpresentation ไปยัง Word โดยใช้รูปแบบที่มีให้ดังนี้ ใช้หัวกระดาษและท้ายกระดาษใน Word เพื่อให้หมายเลขหน้า หากว่าคุณต้องการที่จะพิมพ์หน้าเดียว ให้เลือกหน้าที่คุณต้องการเพื่อที่จะพิมพ์
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกสารหรือหัวข้อที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาของเอกสารต่าง ๆให้ดูใน วิธีใช้Microsoft PowerPoint

โปรเเกรม Microsolf Word 2002

สารบัญคืออะไร
สารบัญ หรือ TOC คือรายการหัวข้อในเอกสาร โดยทั่วไป สารบัญประกอบด้วย เลขหน้าของแต่ละหัวข้อ (ในเอกสารหนึ่งๆ ) หรือลิงค์ไปสู่ section ที่หัวข้อนั้นปรากฏอยู่ (บนเว็บไซด์) คุณสามารถใช้สารบัญเป็นตัวให้ข้อมูลคร่าวๆ แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับหัวข้อของคุณ หรือช่วยผู้อ่านหาหน้าเริ่มแรกของเนื้อหาหรือหน้าแรกของ section
ใน Microsoft Word 2002, คุณมีตัวเลือกต่างๆ มากมายในการสร้างสารบัญ คุณสามารถเลือกตำแหน่งที่ใส่สารบัญบนเอกสารหรือเว็บเพจ, เนื้อหาและรูปแบบของแต่ละรายการ, และต้องการให้มีเลขหน้าหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ครูต้องการใช้สารบัญในตารางการสอนหรือเอกสารอบรม เพื่อให้นักเรียนทราบโครงร่างการสอนของวิชานั้นและสามารถหาหัวข้อๆ หนึ่งจากที่ใด นักเรียนอาจต้องใส่สารบัญลงในรายงานค้นคว้าของตัวเอง หรือชั้นเรียนหนึ่งๆ อาจมีเว็บไซด์สำหรับใช้เป็นแหล่งข้อมูลส่วนกลางร่วมกันและติดตามการสั่งการบ้าน ซึ่งการใส่สารบัญลงในโฮมเพจจะช่วยให้หาสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
TOC ในเอกสารประกอบด้วยรายการหัวข้อหรือหัวเรื่อง ตัวนำแท็บ (เส้นตรง เส้นจุด หรือเส้นปะที่จะแทนที่แท็บ) และหมายเลขหน้า โดยสองรายการหลังเป็นตัวเลือก เมื่ออยู่บนเว็บเพจ การเชื่อมโยงหลายมิติหรือที่เรียกว่าไฮเปอร์ลิงค์จะปรากฏแทนหมายเลขหน้า










ตัวอย่างสารบัญ
ข้อมูลในสารบัญแต่ละข้อมูลมีสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า ลักษณะ (TOC 1 - TOC 9) ลักษณะเป็นตัวกำหนดการจัดรูปแบบของข้อมูลนั้น เช่น การเยื้องและแบบอักษร ข้อมูลแต่ละข้อมูลของ TOC ยังกำหนดจากระดับของ TOC (1-9) ที่แสดงให้ทราบว่ามีการใช้ลักษณะ TOC ใดสำหรับข้อมูลนั้น คุณสามารถสร้างลักษณะของคุณเองหรือใช้ลักษณะข้อมูล TOC ที่สร้างไว้แล้วในโปรแกรม Word ต่อไปนี้คือ ตัวอย่างของรูปแบบที่มีอยู่แล้วในโปรแกรม






การสร้างสารบัญในโปรแกรม Word ประกอบด้วยสองขั้นตอนใหญ่ๆ ขั้นแรก, คุณต้องทำเครื่องหมายข้อความในเอกสารที่คุณต้องการรวมไว้ในสารบัญ การทำเครื่องหมายดังกล่าวหมายถึงการระบุข้อความที่คุณต้องการอย่างเจาะจงสำหรับให้ปรากฏเป็นรายการของสารบัญ ข้อความนี้มักเป็นหัวเรื่อง, ชื่อเรื่อง, หรือหัวเรื่องย่อยซึ่งแสดงลำดับของจุดสำคัญ ขั้นที่สอง, คุณต้องทำการแทรกหรืออัพเดทสารบัญจริง ๆ
วิธีทำเครื่องหมายข้อความเพื่อรวมไว้ในสารบัญ
เมื่อคุณแทรกหรืออัพเดทสารบัญ, Word จะทำการทบทวนข้อความที่คุณทำเครื่องหมายไว้ทั้งหมดในเอกสารนั้น โปรแกรมจะเรียงข้อความที่ถูกทำเครื่องหมายไว้ตามลำดับ, ตรวจสอบระดับชั้นของสารบัญ, และตรวจสอบหมายเลขหน้าของแต่ละรายการ มีวิธีการทำเครื่องหมายข้อความที่คุณต้องการรวมไว้ในสารบัญหลายวิธี คุณอาจใช้ลักษณะหัวเรื่องที่สร้างไว้แล้วในโปรแกรม Word (หัวเรื่อง 1, หัวเรื่อง 2, เป็นต้น), การจัดรูปแบบระดับเค้าร่าง, ลักษณะหัวเรื่องที่คุณกำหนดขึ้นเอง, เขตข้อมูล TC, หรือรูปแบบผสมของวิธีข้างต้น ลองมาศึกษาแต่ละตัวเลือกของวิธีการทำเครื่องหมายข้อความ ดังต่อไปนี้
ลักษณะหัวเรื่องที่สร้างไว้แล้วในโปรแกรม
ลักษณะหัวเรื่องหนึ่งๆ เป็นการผสมผสานตัวเลือกการจัดรูปแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน (เช่น ชนิดตัวอักษร, ขนาด, และ สี) สำหรับใช้กับหัวเรื่องในเอกสารของคุณ โปรแกรม Word 2002 มีลักษณะหัวเรื่องที่สร้างไว้แล้วในโปรแกรมถึง 9 แบบต่างๆ กัน, หัวเรื่อง 1 ถึง หัวเรื่อง 9
การตรวจสอบดูลักษณะของข้อความของคุณทำได้โดย เลือกบางส่วนของเนื้อหาในเอกสารของคุณ แล้วไปที่กล่อง Style บนแถบเครื่องมือ จัดรูปแบบ ถ้าคุณใช้ลักษณะหัวเรื่องที่สร้างไว้แล้ว แบบใดแบบหนึ่งของโปรแกรมเวิร์ดในการจัดรูปแบบหัวเรื่องที่คุณต้องการให้รวมไว้ในสารบัญ คุณสามารถเลือกระดับชั้นสารบัญ สำหรับแต่ละลักษณะหัวเรื่องจากกล่องโต้ตอบ ตัวเลือกของสารบัญ เพื่อรวมไว้ใน TOC ของคุณ
การจัดรูปแบบระดับเค้าร่าง
การจัดรูปแบบระดับเค้าร่าง คือ การจัดรูปแบบที่คุณสามารถใช้เพื่อกำหนดระดับชั้น (ระดับ 1 - ระดับ 9) ให้กับย่อหน้าในเอกสาร คุณจะมองไม่เห็นการจัดรูปแบบนี้ การใช้การจัดรูปแบบระดับเค้าร่างเป็น ระดับ 1 กับย่อหน้าจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบที่มองเห็น (การจัดตำแหน่ง สีของแบบอักษร ฯลฯ) ทุกย่อหน้าในเอกสารล้วนแต่ใช้รูปแบบระดับเค้าร่างด้วยกันทั้งหมด ซึ่งอาจเป็นในลักษณะตัวเนื้อความ (ไม่มีระดับเค้าร่าง) หรือ ระดับ ระดับ 1 ระดับ 2 เช่นนี้)
หลังจากเลือกหัวเรื่องที่ต้องการรวมไว้ใน TOC และเลือกระดับจากกล่องระดับเค้าร่าง คุณสามารถปรับใช้ระดับเค้าร่าง เพื่อทำเครื่องหมายกำกับหัวเรื่อง ที่จะรวมเข้ากับ TOC ของคุณโดยไม่เปลี่ยนรูปลักษณ์ของหัวเรื่อง
หมายเหตุ ลักษณะหัวเรื่องที่สร้างไว้แล้วแต่ละลักษณะมีรูปแบบระดับเค้าร่างที่สอดคล้องกันกำหนดไว้ให้ นั่นคือ หัวเรื่อง 1 มี ระดับ 1 รูปแบบระดับเค้าร่าง หัวเรื่อง 2 มี ระดับ 2 รูปแบบระดับเค้าร่าง เป็นต้น
ลักษณะหัวเรื่องที่คุณกำหนดเอง
ลักษณะหัวเรื่องที่กำหนดเอง คือลักษณะที่คุณกำหนดขึ้นไว้ใช้เอง ถ้าคุณใช้ลักษณะหัวเรื่องที่กำหนดเองไปจัดรูปแบบหัวเรื่องที่ต้องการในสารบัญ, คุณสามารถเลือกระดับชั้นสำหรับลักษณะหัวเรื่องได้จากกล่องโต้ตอบ ตัวเลือกของสารบัญ เพื่อรวมไว้ใน TOC ของคุณ
เขตข้อมูล TC
เขตข้อมูล TC, หรือ table entry field, เป็นรหัสพิเศษที่ถูกกำหนดเป็นอักษร TC อยู่ภายในเครื่องหมายปีกกา, ดังนี้: {TC}. รหัสนี้กำหนดให้โปรแกรม Word ทำการแทรกข้อความที่อยู่ภายในรหัสเข้าไว้ในสารบัญ การรวมข้อความที่อยู่ในส่วนกลางของย่อหน้าเข้าในสารบัญ, คุณสามารถแทรกเขตข้อมูล TC ซึ่งมีข้อความที่คุณต้องการ (ถึงแม้ว่าคุณอาจทำเครื่องหมายบางส่วนของย่อหน้าด้วยลักษณะหัวเรื่อง, Microsoft Word จะรวมข้อความนั้นเข้าในสารบัญได้ก็ต่อเมื่อข้อความที่ทำเครื่องหมายไว้อยู่ที่ส่วนต้นของย่อหน้าเท่านั้น)
คุณสามารถใช้เขตข้อมูล TC สำหรับจัดรูปแบบจำเพาะให้กับสารบัญ ตัวอย่างเช่น, คุณสามารถใช้เขตข้อมูล TC เพื่อละเว้นหมายเลขหน้าบนบางส่วนของสารบัญโดยการเพิ่ม switch (\) ในเขตข้อมูล TC ของรายการนั้น (ดูต่อใน บันทึกย่อเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายขีดในเขตข้อมูล TC)
ถ้าต้องการทำเครื่องหมายกำกับสารบัญด้วยเขตข้อมูล TC ให้เลือกข้อความที่คุณต้องการให้ปรากฏในสารบัญ แล้วจึงกด ALT+SHIFT+O การทำเช่นนี้จะทำให้กล่องโต้ตอบทำเครื่องหมายรายการสารบัญ





เขตข้อมูล TC สำหรับรายการสารบัญ "Sit Amet." เขตข้อมูล TC ถูกจัดรูปแบบให้เป็นข้อความที่ซ่อนไว้
กล่องโต้ตอบ ทำเครื่องหมายรายการสารบัญ{
ในตัวอย่างนี้, ผู้ใช้เลือกข้อความ "Sit Amet" แล้วแสดงกล่องโต้ตอบ ทำเครื่องหมายรายการสารบัญ ตัวเลือกที่เลือกไว้แสดงว่ารายการสารบัญ "Sit Amet" จะปรากฏในสารบัญเป็นรายการระดับ 3 (จัดรูปแบบด้วยลักษณะหัวเรื่อง 3) ปุ่ม ทำเครื่องหมาย ทำการแทรกเขตข้อมูลลงในเอกสาร ({TC "Sit Amet" \f C \l "3"} ในตัวอย่างนี้)
เนื่องจากรหัสในเขตข้อมูล TC เป็นเพียงคำสั่งสำหรับโปรแกรม Word, เขตข้อมูล TC จึงถูกจัดรูปแบบให้เป็นข้อความที่ถูกซ่อนไว้ — มันจะไม่ปรากฏบนจอนอกจากจะมีการสั่งให้แสดงข้อความที่ซ่อนไว้, และมันจะไม่ถูกพิมพ์ออกมา (การดูข้อความที่ซ่อนไว้, คลิก แสดง/ซ่อน บนแถบเครื่องมือมาตรฐาน)





ตัวอย่างข้อมูล TC จำนวน 5 ตัวอย่าง พร้อมระดับ TOC ที่กำหนด ตัวอย่างเช่น {TC "Ipsum" \l 2} ทำเครื่องหมายข้อมูล TOC "Ipsum" ด้วยคำว่า ระดับ-2
ข้อมูลที่ตรงกันเมื่อสร้าง TOC ข้อมูล "Ipsum" ุถูกจัดรูปแบบด้วยลักษณะ TOC 2
บันทึกย่อเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายขีดในเขตข้อมูล TC
เครื่องหมายขีดในเขตข้อมูล TC ที่ปรากฏเป็นเครื่องหมายขีดขวาง (\) จะช่วยให้คุณสามารถควบคุมลักษณะที่ข้อมูลจะปรากฏในรายการหัวข้อได้เพิ่มเติม เครื่องหมาย \l ควบคุมระดับ TOC ของข้อมูล TC ตัวอย่างเช่น เขตข้อมูล { TC "Entering Data" \l 4 } แสดงด้วยข้อมูลระดับ-4 และโปรแกรม Microsoft Word ใช้ลักษณะ TOC 4 ที่สร้างขึ้นไว้แล้วกับข้อมูลเดียวกันนี้ที่อยู่ในสารบัญ หากไม่ได้กำหนดระดับใดเป็นการเฉพาะ จะมีการสมมุติให้ใช้ระดับ 1 ในทันที ถ้าต้องการลบหมายเลขหน้าออกจากข้อมูล ให้รวมเครื่องหมาย \n ไว้ในเขตข้อมูล TC สำหรับข้อมูลนั้น ตัวอย่างเช่น {TC "Entering Data" \l 4 \n}
ตัวเลือกสำหรับแทรกสารบัญ
แท็บ ตารางสารบัญ ในกล่องโต้ตอบ ดัชนีและตาราง มีตัวเลือกสำหรับการแทรกและจัดรูปแบบสารบัญ เมื่อต้องการใช้งาน:
บนเมนู แทรก ในโปรแกรม Word ให้ชี้ไปที่ Reference
คลิกดัชนีและตาราง และคลิกแท็บ ตารางสารบัญ





คุณยังสามารถใช้แท็บตารางสารบัญ เพื่อแสดงผลแถบเครื่องมือ เค้าร่าง ด้วยแถบเครื่องมือ เค้าร่าง คุณจะสามารถ:
ปรับใช้ระดับเค้าร่างได้อย่างรวดเร็ว (แม้กระทั่งในมุมมองอื่นที่ไม่ใช่มุมมองเค้าร่าง)
ปรับปรุงข้อมูลในสารบัญให้เป็นปัจจุบัน
กลับไปยังหน้าสารบัญจากบริเวณใดๆ บนเอกสารที่คุณกำลังใช้งานอยู่
ปุ่ม ปรับปรุง TOC และปุ่ม ไปที่ TOC ใช้ทำงานได้กับสารบัญชุดแรกของเอกสารเท่านั้น และใช้กับสารบัญที่สร้างจากลักษณะที่สร้างไว้แล้วโดยโปรแกรม Word เท่านั้น
ปุ่ม ตัวเลือก แสดงกล่องโต้ตอบตัวเลือกตารางสารบัญและเปิดโอกาสให้คุณเลือกข้อมูลที่คุณต้องการรวมไว้ใน TOC (ขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณทำเครื่องหมายข้อความในเอกสาร) ตัวเลือกที่คุณเลือก จะระบุวว่า ข้อมูลนั้นถูกทำเครื่องหมายโดยสไตล์เฉพาะ โดยระดับเค้าร่าง ในฐานะเขตข้อมูลของตาราง (เขตข้อมูล TC) หรือโดยการรวมตัวเลือกต่าง ๆ เหล่านี้
หากคุณใช้ลักษณะหัวเรื่องที่มีอยู่กับโปรแกรมนั้นแล้วเพื่อจัดรูปแบบหัวเรื่องที่คุณต้องการรวมไว้ใน TOC ให้ใส่ระดับ TOC (1-9) ที่เหมือนกับระดับหัวเรื่อง (ระดับ TOC 1 สำหรับหัวเรื่อง 1 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ) ในรายการลักษณะที่มีอยู่{
หากคุณใช้ระดับเค้าร่างเพื่อทำเครื่องหมายหัวเรื่อง คุณสามารถเลือกตัวเลือกระดับเค้าร่าง{
หากคุณใช้ลักษณะที่เลือกกำหนดเองเพื่อจัดรูปแบบหัวเรื่องที่คุณต้องการรวมไว้ใน TOC ของคุณ ให้ใส่ระดับ TOC (1-9) สำหรับหัวเรื่องแต่ละรายการที่คุณต้องการไว้ในรายการลักษณะที่มีอยู่{
หากคุณใช้เขตข้อมูล TC เพื่อทำเครื่องหมายข้อมูลที่คุณต้องการรวมไว้ใน TOC ของคุณ ให้เลือกกล่อง{
เมื่อคุณแทรก TOC ของคุณแล้ว จำไว้ว่า ปุ่ม แก้ไข บน กล่องโต้ตอบดัชนีและตาราง จะอนุญาตให้คุณเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่อยู่ใน TOC
หมายเหตุ ปุ่ม แก้ไข จะนำมาใช้งานได้ก็ต่อเนื่องได้เลือกจากแม่แบบ ในรายการ รูปแบบ นอกจากนี้, ถ้าคุณเปลี่ยนรูปแบบของลักษณะรายการสารบัญอันหนึ่ง (เช่น TOC 1), เท่ากับว่าคุณได้เปลี่ยนรูปแบบของรายการสารบัญอื่นๆ ในเอกสารที่ใช้ลักษณะรูปแบบเดียวกัน ตัวอย่างเช่น, คุณไม่สามารถทำการแทรกสารบัญอันหนึ่งด้วยลักษณะคลาสสิค, แล้วเพิ่มสารบัญที่สองในเอกสารเดียวกันด้วยลักษณะสมัยใหม่
การเพิ่มสารบัญลงในเว็บเพจ
คุณสามารถสร้างสารบัญสำหรับใช้กับเว็บเพจได้ โดยที่สารบัญนั้นจะแสดงอยู่ในเฟรมเดียวกันกับตัวเนี้อหา (ดังเช่นสารบัญที่ปรากฏอยู่ตอนต้นของบทความนี้) หรืออยู่ในเฟรมแยกต่างหากจากเนื้อหาของเว็บเพจ ซึ่งมีผลให้หน้าสารบัญยังคงแสดงอยู่ ขณะที่คุณกำลังดูเนื้อหาของเว็บเพจในอีกเฟรมหนึ่ง (ดังที่แสดงไว้ข้างล่างนี้)
TOC บนเว็บเพจใช้การเชื่อมโยงหลายมิติหรือไฮเปอร์ลิงค์แทนหมายเลขหน้า: กล่าวคือ TOC แต่ละรายการมักมีข้อความที่เชื่อมโยงกันอยู่ การเชื่อมโยงหรือลิงค์นี้มีประโยชน์หากคุณต้องการสำรวจเว็บเพจอย่างรวดเร็ว และใช้สำหรับดูสรุปเนื้อหาของเว็บเพจ เมื่อคุณสลับมาที่มุมมองเค้าโครงเว็บในเอกสารที่มี TOC รายการ TOC จะแสดงผลเป็นการเชื่อมโยงหลายมิติแทนรายการข้อมูลพร้อมหมายเลขหน้า

ในการแทรกและแสดงสารบัญไว้ในเฟรมเดียวกับส่วนข้อความ ให้ใช้แท็บตารางสารบัญ ในกล่องโต้ตอบ ดัชนีและตาราง ในการแทรกสารบัญไว้ในเฟรมแยกต่างหาก ชี้เมาส์ไปที่ เฟรม บนเมนูรูปแบบและคลิกตารางสารบัญในเฟรม
คุณสามารถกำหนด TOC ในแบบที่คุณต้องการเพื่อให้คุณสร้างในเฟรมโดยใช้คำสั่ง ดัชนีและตาราง (บนเมนู แทรก แท็บ ตารางสารบัญ) อย่างไรก็ดี เฟรมที่ประกอบด้วย TOC ต้องเป็นเฟรมที่ใช้อยู่ในขณะนั้น (กล่าวคือ คุณต้องคลิกภายในเฟรม) เมื่อคุณเลือกกำหนดตามความต้องการ
แป้นพิมพ์ลัดสำหรับใช้สารบัญ
เมื่อคุณแทรก TOC เขตข้อมูล TOC จะถูกเพิ่มลงในเอกสารของคุณ เขตข้อมูลนี้ประกอบด้วย "รหัส" ที่จะแนะนำให้โปรแกรม Word สร้างและแสดงผล TOC ของคุณ เมื่อคุณสลับรหัสเขตข้อมูล (ด้วยการเลือก TOC และกด SHIFT+F9) ุคุณจะสามารถมองเห็นรหัสที่สร้าง TOC ของคุณ
จริง ๆ แล้ว TOC เป็นเขตข้อมูล มีปุ่มวิธีลัดหลายปุ่มที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับเขตข้อมูลที่คุณยังสามารถใช้เพื่อทำงานร่วมกับ TOC ของคุณ:
F9 ปรับปรุง TOC ที่เลือกเมื่อคุณปรับปรุงข้อมูลในสารบัญให้เป็นข้อมูลปัจจุบันด้วยการกดปุ่ม F9 หรือด้วยการใช้ปุ่มปรับปรุง TOC แสดงว่า คุณอาจเลือกปรับปรุงหมายเลขหน้าเพียงอย่างเดียวหรือปรับปรุงเนื้อหาทั้งหมดของ TOC หากหมายเลขหน้าสำหรับรายการ TOC เปลี่ยนแปลงไปเพราะคุณได้แก้ไขเอกสาร คุณเพียงแค่ปรับเปลี่ยนหมายเลขเท่านั้น อย่างไรก็ดี หากคุณได้เพิ่ม ย้ายหรือปรับเปลี่ยนข้อความที่ทำเครื่องหมายว่าเป็นรายการ TOC คุณจำเป็นต้องปรับปรุงเนื้อหาทั้งหมดของ TOC
CTRL+SHIFT+F9 ยกเลิกเชื่อมโยง TOC ที่เลือก เนื่องจากโดยแท้จริงแล้ว สารบัญของคุณเป็นเขตข้อมูลรหัส (เขตข้อมูล {TOC}) คุณสามารถยกเลิกการเชื่อมโยงสารบัญของคุณเพื่อทำการแก้ไขภายในตัวสารบัญเองได้อย่างรวดเร็ว (เช่น เมื่อต้องการแก้ไขสารบัญโดยกะทันหันก่อนพิมพ์) อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว คุณไม่ควรปิดกั้นสารบัญจากการถูกปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
SHIFT+F9 สลับระหว่างรหัสเขตข้อมูล TOC ที่เลือก ({TOC}) และผลลัพธ์ที่ได้ (TOC ที่แท้จริง)
ALT+F9 สลับระหว่างการแสดงผลรหัสเขตข้อมูลทั้งหมดในเอกสาร (เช่น {TOC} และ {TC}) และผลลัพธ์ที่ได้ (เช่น TOC ของคุณ)
ALT+SHIFT+O ทำเครื่องหมายเพื่อเลือกส่วนข้อความของเอกสารที่คุณต้องการให้รวมไว้ในสารบัญ ข้อความที่ถูกเลือกจะแสดงไว้ด้วยเครื่องหมายเขตข้อมูล TC
วิธีสร้างและทำงานร่วมกับสารบัญ
ต่อไปนี้คือ หัวข้อวิธีใช้บางหัวข้อจากโปรแกรม Microsoft Word ที่อธิบายวิธีทำงานเฉพาะร่วมกับ TOC ของคุณ
สร้างตารางสารบัญ
ปรับปรุงตารางสารบัญ
เปลี่ยนรูปลักษณ์ของสารบัญ ดัชนี ตารางอำนาจหน้าที่ หรือตารางรูปภาพ
รหัสเขตข้อมูล: เขตข้อมูล TC (ข้อมูลของตารางสารบัญ)
ลบตารางสารบัญ
สร้างสารบัญในเว็บเฟรม
(Q285050) วิธีการ: การใช้ระดับเค้าร่างเพื่อสร้างสารบัญในโปรแกรม Word 2002

ผังงาน

ผังงาน (Flowchart)
ความหมายของผังงาน



ผังงาน (Flowchart) คือ รูปภาพ (Image) หรือสัญลักษณ์(Symbol) ที่ใช้เขียนแทนขั้นตอน คำอธิบาย ข้อความ หรือคำพูด ที่ใช้ในอัลกอริทึม (Algorithm) เพราะการนำเสนอขั้นตอนของงานให้เข้าใจตรงกัน ระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ด้วยคำพูด หรือข้อความทำได้ยากกว่า ผังงานแบ่งได้ 2 ประเภท




1. ผังงานระบบ (System Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานในระบบอย่างกว้าง ๆ แต่ไม่เจาะลงในระบบงานย่อย




2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) คือ ผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรม ตั้งแต่รับข้อมูล คำนวณ จนถึงแสดงผลลัพธ์ ประโยชน์ของผังงาน




1. ทำให้เข้าใจ และแยกแยะปัญหาได้ง่าย (Problem Define)




2. แสดงลำดับการทำงาน (Step Flowing)




3. หาข้อผิดพลาดได้ง่าย (Easy to Debug)




4. ทำความเข้าใจโปรแกรมได้ง่าย (Easy to Read)




5. ไม่ขึ้นกับภาษาใดภาษาหนึ่ง (Flexible Language)
















การโปรแกรมแบบมีโครงสร้าง หรือ การโปรแกรมโครงสร้าง ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ผมขอตอบอย่างสั้น ๆ ว่าทุกภาษาต้องมีหลักการ 3 อย่างนี้คือ การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision) และ การทำซ้ำ(Loop) แม้ตำราหลาย ๆ เล่มจะบอกว่า decision แยกเป็น if กับ case หรือ loop นั้นยังแยกเป็น while และ until ซึ่งแตกต่างกัน แต่ผมก็ยังนับว่าการเขียนโปรแกรม แบบมีโครงสร้างนั้น มองให้ออกแค่ 3 อย่างก็พอแล้ว และหลายท่านอาจเถียงผมว่าบางภาษาไม่จำเป็นต้องใช้ Structure Programming แต่เท่าที่ผมศึกษามา ยังไม่มีภาษาใด เลิกใช้หลักการทั้ง 3 นี้อย่างสิ้นเชิง เช่น MS Access ที่หลายคนบอกว่าง่าย ซึ่งก็อาจจะง่ายจริง ถ้าจะศึกษาเพื่อสั่งให้ทำงานตาม wizard หรือตามที่เขาออกแบบมาให้ใช้ แต่ถ้าจะนำมาใช้งานจริง ตามความต้องการของผู้ใช้แล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการเขียน Structure Programming เพื่อสร้าง Module สำหรับควบคุม Object ทั้งหมดให้ทำงานประสานกัน





1. การทำงานแบบตามลำดับ(Sequence) : รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่ง่ายที่สุดคือ เขียนให้ทำงานจากบนลงล่าง




เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัดจากบรรทัดบนสุดลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด สมมติให้มีการทำงาน 3 กระบวนการคือ




อ่านข้อมูล คำนวณ และพิมพ์








2. การเลือกกระทำตามเงื่อนไข(Decision or Selection) : การตัดสินใจ หรือเลือกเงื่อนไขคือ เขียนโปรแกรมเพื่อนำค่าไปเลือกกระทำ โดยปกติจะมีเหตุการณ์ให้ทำ 2 กระบวนการ คือเงื่อนไขเป็นจริงจะกระทำกระบวนการหนึ่ง และเป็นเท็จจะกระทำอีกกระบวนการหนึ่ง แต่ถ้าซับซ้อนมากขึ้น จะต้องใช้เงื่อนไขหลายชั้น เช่นการตัดเกรดนักศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างผังงานนี้ จะแสดงผลการเลือกอย่างง่าย
3. การทำซ้ำ(Repeation or Loop) : การทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขในการควบคุม หมายถึงการทำซ้ำเป็นหลักการที่ทำความเข้าใจได้ยากกว่า 2 รูปแบบแรก เพราะการเขียนโปรแกรมแต่ละภาษา จะไม่แสดงภาพอย่างชัดเจนเหมือนการเขียนผังงาน ผู้เขียนโปรแกรมต้องจินตนาการด้วยตนเอง

ระบบสารสนเทศ


ระบบสารสนเทศ (Information system)

ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด รวบรวม จัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ การวางแผน การบริหาร การควบคุม การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Processing) และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001)
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม

ระบบสารสนเทศ หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ (FAO Corporate Document Repository, 1998) ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine) และวิธีการในการเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)

สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง

Laudon & Laudon (2001) ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations) การจัดการ (management) และเทคโนโลยี (Technology)

ประเภทของระบบสารสนเทศ

ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)

1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น

2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร

3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร

4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด

1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น

2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์

3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน
บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น

4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ

5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์

6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์

ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ


ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

การสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่



1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม

4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้

4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น

4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง

4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ

4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป

4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป

5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น