โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

การฟักตัวของจระเข้

การฟักตัวของจระเข้

ไข่จระเข้มีรูปทรงเป็นรูปไข่ยาวรี (Elliptical form) ที่มีลักษณะมนเท่า ๆ กัน ไม่สามารถแยกออกได้ว่าด้านใดเป็นส่วนหัว ด้านใดเป็นส่วนท้าย ไข่จระเข้เพิ่งออกใหม่ ๆ จะมีเมือกปกคลุมเปลือกไข่หนาประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร เพื่อกันไม่ให้ไข่แตกหรือร้าวระหว่างที่แม่จระเข้วางไข่ลงหลุม เปลือกไข่มีสีขาวครีม เปลือกไข่หนา มีรูพรุนอยู่ตามผิว ส่วนที่เป็นเปลือกไข่นี้ประกอบด้วยเปลือกไข่ (eggshell) และเยื่อเปลือกไข่ (shell membrane) หุ้มไข่ขาว (Albumen) และไข่แดง (yolk) เยื่อเปลือกไข่นี้จะมีสีขาว หนาและเหนียว ช่วยพยุงความเปราะของเปลือกไข่ไว้ และถึงแม้ว่าเปลือกไข่จะแตกไปก็ตาม หากเยื่อเปลือกไข่ไม่แตกขาดยังอยู่ในสภาพปกติไข่นั้นก็สามารถที่จะฟักเป็นตัวออกได้ ไม่เหมือนกับไข่เป็ดไข่ไก่ที่เมื่อเปลือกไข่แตกหรือร้าวก็จะเสียไป เนื่องจากเยื่อเปลือกไข่บางและไม่เหนียวเช่นไข่จระเข้ สำหรับไข่ขาวและไข่แดงก็จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มาก โดยไข่ขาวจะอยู่ล้อมรอบไข่แดงซึ่งอยู่ภายใน ไข่แดงจะประกอบด้วยโปรตีน แคลเซียม ไขมัน และน้ำ อันเป็นสารอาหารที่จะเป็นต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของตัวอ่อน (embryo) เป็นลูกจระเข้ที่สมบูรณ์
ไข่จระเข้น้ำจืดจะมีเปลือกไข่บางกว่า ขนาดไข่ก็ป้อมและเล็กกว่าไข่จระเข้น้ำเค็ม โดยไข่จระเข้น้ำเค็มค่อนข้างจะมีเปลือกไข่ที่หนากว่า ลักษณะไข่ก็ยาวรีกว่าเล็กน้อยแต่ไข่ของจระเข้ทั้ง 2 ชนิดพันธุ์นี้ ก็คงมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ถ้าเอาไข่จระเข้ทั้งสองมารวมกันจะไม่สามารถแยกออกได้เลยว่าไข่ฟองไหนเป็นของจระเข้พันธุ์ใด หากไม่มีความชำนาญพอ
สำหรับขนาดและจำนวนของไข่จระเข้นี้ก็ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด ความสมบูรณ์ และชนิดพันธุ์ของแม่จระเข้ ดังนี้
1. จระเข้น้ำจืด ขนาดอายุ 10 - 12 ปี ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 4.76 * 6 - 7 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 90 กรัม ขนาดอายุ 13 - 15 ปี ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 4.95 เซนติเมตร ขนาดอายุ 16 ปีขึ้นไป ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 5.4 * 8.48 เซนติเมตร และมีนำหนักเฉลี่ย 131 กรัม
2. จระเข้น้ำเค็ม ขนาดอายุ 12 - 15 ปี ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 4.68 * 7.4 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 120 กรัม ขนาดอายุ 15 - 18 ปีขึ้นไป ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 4.98 * 8.73 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 130 กรัม
3. จระเข้ลูกผสม ขนาดอายุ 10 - 12 ปี ไข่จะมีขนาดโตเฉลี่ย 5.49 * 8.75 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 132 กรัม ขนาดอายุ 18 - 19 ปี ไข่จะมีขนาดโต 5.61 * 8.75 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 133 กรัม
ส่วนจำนวนไข่ในแต่ละครั้งที่วางไข่ของแม่จระเข้ ก็ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด ชนิดพันธุ์ และความสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน ดังนี้
1. จระเข้น้ำจืด เมื่อเริ่มวางไข่อายุประมาณ 10 - 12 ปี จำนวนไข่ครั้งละประมาณ 20 - 30 ฟอง อายุ 13 - 15 ปี ก็มีจำนวนไข่ครั้งละประมาณ 25 -50 ฟอง และเมื่ออายุ 16 ปีขึ้นไป จำนวนไข่ก็จะมากขึ้น ครั้งละ 30 - 50 ฟอง
2. จระเข้น้ำเค็ม เมื่อเริ่มวางไข่อายุประมาณ 12 ปี จำนวนไข่ครั้งละประมาณ 25 - 40 ฟอง อายุ 13 - 15 ปี ก็จะมีจำนวนไข่ครั้งละประมาณ 30 - 55 ฟอง และเมื่อมีอายุ 15 - 18 ปีขึ้นไป ก็มีจำนวนไข่มากขึ้น ครั้งละประมาณ 35 - 60 ฟอง

ปลาไทย


เป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลปลากระดี่ ปลาในตระกูลนี้ ได้แก่ ปลาแรด ปลากระดี่ ปลาสลิด ปลากัด ฯลฯ จะมีอวัยวะพิเศษเพื่อช่วยการหายใจ ( Labyrinth organ ) อยู่ในโพรงอากาศ หลังช่องเหงือก ที่จะมีเนื้อเยื่อรอยหยัก และมีเส้นเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยง ทำให้ปลาในตระกูลนี้ ต้องโผล่ขึ้นมาฮุบอากาศที่ผิวน้ำเสมอ และสาเหตุนี้เองที่ทำให้ปลาแรดอาศัยอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำๆ ได้ ปลาแรดมีรูปร่างแบนข้างมาก กระดูกแก้มมีขอบเป็นจักร เกล็ดเป็นรูปหยัก เวลาจับจะรู้สึกสากมือ ครีบหลังและครีบก้น มีก้านเดี่ยวเป็นหนามแหลม ครีบอกมีขนาดเล็ก ครีบท้องอันแรกเปลี่ยนรูปเป็นรยางค์ยาว มีลักษณะเป็นเส้น ( ตะเกียบ , ไม้เท้า ) ปลายหางกลมมน ส่วนหัวเล็กและป้าน มีฟันแข็งแรง ปลาแรดมีสีสันต่าง ๆ กันตามขนาด และอายุของปลา ปลาที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีดำอมม่วงปนเหลือง และมีแถบสีดำข้างละ 8 แถบ มีจุดสีดำที่โคนหาง ข้างละจุด เมื่อปลาโตขึ้น จะมีสีที่อ่อนลงกว่าเดิม เมื่อโต ขึ้น จะมีนอขึ้นบริเวณหน้า เด่นชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาเพศผู้ ตรงนี้เองน่าจะเป็นที่มา ของชื่อปลาแรด ปลาแรดสามารถเลี้ยงได้ในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ และตู้กระจก ปลาแรดเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงให้เชื่องได้ง่าย มีความทนทาน และปรับตัวเข้ากับสถานที่ที่คับแคบได้ แต่อัตราการเจริญเติบโตจะค่อนข้างช้า ปลาแรดสามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิด ปลาที่อยู่ในบ่อเป็นตัวกำจัดวัชพืชพวกจอก แหน ชั้นเยี่ยม ปลาแรดเป็นปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกาด กะหล่ำ กล้วย อาหารสำเร็จรูป กุ้งฝอย เนื้อสัตว์หั่นชิ้น ลูกไร ลูกน้ำ ปลาเหยื่อ ฯลฯ การเลี้ยงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็กอื่น ๆ เนื่องจากอุปนิสัยที่ค่อนข้างก้าวร้าว ในกรณีที่เลี้ยงกับปลาแรดด้วยกัน ควรปล่อยปลาให้มีขนาดที่เท่ากัน และควรมีที่หลบซ่อนได้บ้าง เพราะปลาแรดจะทำร้ายกันเองในบางครั้ง กรณีเลี้ยงในตู้ ควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระโดด ปลาแรดที่โตเต็มวัย เป็นปลาที่มีพละกำลังมาก หากทำการเคลื่อนย้าย ควรกระทำอย่างระมัดระวัง เพราะปลาอาจจะบอบช้ำเนื่องจากการกระโดดและการดิ้นที่รุนแรง จนอาจเกิดการสูญเสียได้

ปุ๋ยเคมี


ปุ๋ยเคมี




เราซื้อปุ๋ยเคมี เพราะเราต้องการนำธาตุอาหารที่มอยู่ในปุ๋ยนั้นให้แก่พืช ปุ๋ยเคมีจะมีธาตุอาหารพืชอยู่มากน้อยเท่าใด ดูได้จากตัวเลขบนกระสอบปุ๋ย ซึ่งเรียกว่า สูตรปุ๋ย
สูตรปุ๋ย ประกอบด้วยตัวเลข ค่า มีขีดขั้นระหว่างตัวเลขแต่ละค่า เช่น 16-16-8 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละค่าจะแทนความหมายดังนี้
- ตัวเลขค่าแรกคือ 16 แทนเนื้อธาตุไนโตรเจนแสดงว่า ในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุไนโตรเจน 16 กิโลกรัม
- ตัวเลขต่อมาคือ 16 แทนเนื้อธาตุฟอสฟอรัส แสดงว่าในจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุฟอสฟอรัส 16 กิโลกรัม
-ตัวเลขสุดท้ายคือ 8 แทนเนื้อธาตุโพแทสเซียม แสดงว่าในปุ๋ยจำนวน 100 กิโลกรัมจะมีเนื้อธาตุโพแทสเซียม 8 กิโลกรัม

ลูกอมให้โทษ

ลูกอมให้โทษ

ฮอตฮิตในหมู่เด็กและวัยรุ่นตอนนี้ คงหนีไม่พ้น ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ก็เห็นวางขายเกลื่อน เป็นเหตุให้ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกมาเตือนถึงอันตราย โดยเฉพาะเด็ก ๆ หากกลืนสารเรืองแสงเข้าไป

นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการ อย. กล่าวว่า ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง ดังกล่าว มีการอ้างว่านำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น จีน วางจำหน่ายอย่างแพร่หลายในท้องตลาด และยังมีการโฆษณาขายทางอินเทอร์เน็ต รับสั่งจองล่วงหน้าและบริการจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์อีกด้วย จากการตรวจสอบ พบว่า ไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ มีลักษณะรูปร่างคล้ายอมยิ้มทั่วไป แต่ในส่วนก้านเป็นหลอดพลาสติกใส ข้างในมีของเหลวบรรจุอยู่ เมื่อหักก้านอมยิ้มจะทำให้เกิดการเรืองแสง จากการรายงานในเบื้องต้น ระบุว่า ในก้านของลูกอม หรือ อมยิ้ม น่าจะมีสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารฟีนิลออกซาเลตเอสเทอร์ และสารเรืองแสงสีต่าง ๆ เมื่องอแท่งเรืองแสงให้กระเปาะแก้วที่อยู่ภายในหัก ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะไหลออกมา ทำปฏิกิริยากับฟีนิลออกซาเลตเอสเทอร์ จะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาและไปกระตุ้นโมเลกุลของสารเรืองแสงที่บรรจุอยู่ในแท่งเรืองแสงให้เกิดปรากฏการณ์เรืองแสงขึ้น แต่ท้ายที่สุดคงต้องรอผลการตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์อย่างเป็นทางการอีกทีที่น่าห่วงคือ หากบริโภค สารที่อยู่ในก้านลูกอม หรืออมยิ้มเข้าไป โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ก้านอมยิ้มรั่ว อาจทำให้เกิดอาการแสบท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ช็อกและเสียชีวิตได้ ลูกอม หรือ อมยิ้มเรืองแสง จึงถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 คือ 1. กรณีไม่แสดงฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขสารบบอาหารบนฉลาก ผู้ที่นำเข้า จำหน่ายอาหารที่มีฉลากไม่ถูกต้องมีโทษปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท 2. กรณีนำเข้าเพื่อจำหน่ายต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 3. กรณีนำเข้าหรือจำหน่ายอาหารที่มีการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่มิใช่อาหารในภาชนะบรรจุอาหารและหีบห่อ โดยไม่ได้มีวัตถุ ประสงค์เพื่อรักษาคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องปรุง หรือประกอบอาหาร หรือใช้เป็นอุปกรณ์ในการบริโภคหรือเตรียมอาหาร เช่น ช้อน ส้อม ซึ่งวัตถุนั้นอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาทด้าน ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผอ.กองควบคุม อาหาร อย. กล่าวว่า ลูกอม หรืออมยิ้ม มีส่วนประกอบหลักคือ น้ำตาล กลิ่น สี และแบะแซ ที่เติมแบะแซ ก็เพื่อให้เป็นผลึก ไม่เป็นก้อนขุ่นขาวเหมือนน้ำตาล ปัจจุบันมีผู้ผลิตและนำเข้าหลากหลายยี่ห้อ และหลายรูปแบบ ปัญหาลูกอม หรืออมยิ้ม ที่เคยเจอในสมัยก่อน คือ ใช้สีเกินมาตรฐาน คงเคยได้ยินลูกอมปิศาจ ที่อมแล้วลิ้นสีแดง มีการใช้สีไม่ได้มาตรฐาน ตรวจ พบการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท นอกจากนี้ยังมีลูกอมแมลง เป็นแมลงจริง ๆ อยู่ในลูกอมซึ่ง อย.ไม่ได้อนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่าย ดังนั้นระยะหลังทางผู้ประกอบการที่ต้องการนำเข้าจะส่งตัวอย่างมาให้ อย. ดูก่อน ต่อมาก็มีปัญหาเรื่องของแถมที่ติดมากับลูกอม หรืออมยิ้ม โดยทำเป็นก้านของลูกอม เช่น ไฟฉาย นกหวีด หรือของเล่น ทำให้มีปัญหาติดคอเด็ก หรือเด็กกลืนกินเข้าไป ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 310 พ.ศ. 2551 เรื่องการห้ามผลิต นำเข้า หรือ จำหน่ายอาหารที่มีการบรรจุสิ่งอื่นหรือวัตถุอื่นที่มิใช่อาหาร ในภาชนะบรรจุอาหารและหีบห่อ มาควบคุมดร.ทิพย์วรรณ แนะนำว่า การบริโภคน้ำตาลไม่ควรเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน เพราะการบริโภคมาก ๆ อาจทำให้ ฟันผุ หรือทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป ไม่ดีต่อสุขภาพระยะยาว กลายเป็นคนติดหวาน และเป็นโรคอ้วน นอกจากนี้ ลูกอม หรือ อมยิ้ม อาจทำให้ติดคอเสียชีวิตได้ ดังนั้นในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบผู้ปกครองควรระมัดระวัง ไม่ให้รับประทาน ท้ายนี้ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลาน ว่า ควรบริโภคลูกอม หรืออมยิ้ม แต่น้อยและออกกำลังกายด้วย ก่อน บริโภคควรสังเกตด้วยว่า มีชื่อภาษาไทย มีแหล่งผลิต และมีเลขทะเบียน อย.หรือไม่ ถ้าไม่มีให้สงสัยว่า อาจเป็นสินค้าที่ลักลอบนำเข้ามาจำหน่าย ไม่ควรซื้อ ส่วนที่มีของแถมต้องดูด้วยว่าของแถมดังกล่าวจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพบุตรหลานหรือไม่

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

งานไฟฟ้า

งานไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและเมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจร เนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจรไฟฟ้าอยู่นั่นเอง


แสดงวงจรไฟฟ้าเบื้องต้น มีส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน ส่วนประกอบหลักแต่ละส่วนมีหน้าที่การทำงานดังนี้
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นแหล่งจ่ายแรงดันและกระแสให้กับอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าโดยแหล่งจ่ายไฟฟ้าสามารถนำมาได้จากหลายแหล่งกำเนิด เช่น จากปฏิกิริยาเคมี จากขดลวดตัดสนามแม่เหล็ก และจากแสงสว่าง เป็นต้น บอกหน่วยการวัดเป็นโวลต์ (Volt) หรือ V
2. โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน โหลดจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นๆ เช่น เสียง แสง ความร้อน ความเย็น และการสั่นสะเทือน เป็นต้น โหลดเป็นคำกล่าวโดยรวงมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดอะไรก็ได้ เช่น ตู้เย็น พัดลม เครื่องซักผ้า โทรทัศน์ วิทยุ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น โหลดแต่ละชนิดจะใชัพลังงานไฟฟ้าไม่เท่ากัน ซึ่งแสดงด้วยค่าแรงดัน กระแส และกำลังไฟฟ้า
3. สายไฟต่อวงจร เป็นสายตัวนำหรือสายไฟฟ้า ใช้เชื่อมต่อวงจรให้ต่อถึงกันแบบครบรอบ ทำให้แหล่งจ่ายแรงดันต่อถึงโหลดเกิดกระแสไหลผ่านวงจร จากแหล่งจ่ายไม่โหลดและกลับมาครบรอบที่แหล่งจ่ายอีกครั้ง สายไฟฟ้าที่ใช้ต่อวงจรทำด้วยทองแดงมีฉนวนหุ้มโดยรอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไม้ดอก ไม้ประดับ


ลักษณะเด่นของพืชชนิดนี้ คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous)อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่าง หลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก 3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอก เกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกัน เกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอก ตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ

1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย

2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน

3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ

1.การปักชำ

2.การเสียบยอด

3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู

1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน ใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบ และยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อ บางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก