โฆษณาต่อต้านคอรัปชั่น

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554

สงครามโลกครั้งที่ 1


สงครามโลกครั้งที่ 1




สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) ซึ่งก่อน ค.ศ. 1939 ถูกเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม"(อังกฤษ: Great War) เป็นสงครามครั้งสำคัญที่อุบัติขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรประหว่าง ค.ศ. 1914 - 1918 โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดของโลกเข้าร่วมสงคราม[1] แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไตรภาคี) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง[2] โดยพบว่ามีทหารมากกว่า 70 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรป 60 ล้านคน ถูกระดมเข้าสู่หนึ่งในสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้[3][4] ทหารผู้เข้าร่วมสงครามเสียชีวิตมากกว่า 9 ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านอำนาจการยิงโดยไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าในความสามารถในการเคลื่อนที่ เป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่หก[5] ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน[6]

การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ส่วนสาเหตุระยะยาวนั้น เช่น นโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจทั้งหลายในยุโรป อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมัน จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิอังกฤษ ฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เป็นสาเหตุสำคัญเช่นกัน การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ทำให้ออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดแก่ราชอาณาจักรเซอร์เบีย[7][8] พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในสภาวะสงคราม และความขัดแย้งเริ่มขยายลุกลามไปทั่วโลกผ่านอาณานิคมต่าง ๆ

วันที่ 28 กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบีย[9][10] ตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังจากการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกทำให้หยุดชะงัก แนวรบด้านตะวันตกก็กลายสภาพเป็นการสู้รบที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะที่เปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ. 1917 ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกบีบให้ถอยกลับโดยกองทัพเยอรมัน แนวรบเพิ่มเติมเปิดฉากขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลงใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนีตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก

เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและสิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ[11] สันนิบาตชาติถูกก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงรามและ

การสื้นสุดของจักรวรรดิรัสเซีย นำไปสู่การก่อตั้ง สหภาพโซเวียต อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย ต่อมา ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต แต่ทว่าจากลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นหลังสงครามและการแตกออกของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหาของสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยในการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง[12]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น